เคยไหม อยู่ดีๆก็มีผื่นเห่อขึ้นมา........บ้างคนอาจมีอาการคันร่วมด้วยบ้างคนอาจไม่มีอาการคันเลย
หลายๆคนคิดว่า ..ฉันแพ้อะไร หรือเปล่า !! แมลงอะไรกัดหรือ!!อาจมีหลายสาเหตุที่น่าสงสัยแต่อาการดังกล่าว อาจมาจากโรค# ผื่นผิวหนังอักเสบก็เป็นได้...........
#โรคผื่นผิวหนังอักเสบ #eczema เป็นกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของผิวหนัง ที่เกิดจากหลายสาเหตุหรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
สาเหตุสำคัญของ#โรคผิวหนังอักเสบ อาจเกิดจากสาเหตุภายนอกร่างกาย หรือ อาจเกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย สาเหตุภายนอกร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของ#ผิวหนังอักเสบ ได้แก่ การสัมผัสกับสารที่มีฤทธิ์ระคายเคืองหรือการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสที่ ส่วนสาเหตุภายใน เช่น #โรคผื่นภูมิแพ้ที่ผิวหนัง
ลักษณะทางคลินิกของโรคผิวหนังอักเสบ จะมีอาการคัน เป็นผื่นแดง มีขุย และกลุ่มตุ่มแดง ตุ่มน้ำ โดยจะแบ่งออกตามระยะของโรคได้ 3 ระยะ คือ
1.ระยะเฉียบพลัน จะมีลักษณะผื่นแดง บวม หรือมีตุ่มน้ำใส น้ำเหลืองไหลเยิ้ม หรือเกิดเป็นสะเก็ด
2.ระยะกึ่งเฉียบพลัน จะมีผื่นแดงน้อยกว่าระยะเฉียบพลัน ประกอบด้วยตุ่มแดง ผิวหนังจะมีลักษณะหนาขึ้นเล็กน้อย ทำให้เห็นร่องลายของผิวหนังชัดขึ้น เกิดรอยแกะเกา มีขุย และสะเก็ดน้ำเหลืองที่แห้งกรัง
3.ระยะเรื้อรัง จะมีลักษณะผิวหนังหนาตัวมาก เห็นร่องลายของผิวหนังชัดขึ้น มีผื่นสีแดงคล้ำ เป็นรอยดำหรือรอยขาว
โรคผิวหนังอักเสบ อาจต้องทำการวินิจฉัยแยกโรคจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง โดยการนำขุยบริเวณรอยโรคไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือตรวจเพื่อดูการติดเชื้อแทรกซ้อน และตรวจภาวะผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากการแพ้สารสัมผัสภายนอก โดยทำการทดสอบผื่นแพ้สัมผัสที่ผิวหนัง (patch test) เมื่อทราบว่าแพ้สารใดสารหนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารนั้น
แนวทางการรักษาที่สำคัญที่สุด คือควรมาพบแพทย์ผิวหนังเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและหาสาเหตุร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้โรคกำเริบ แพทย์จะประเมินจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และเลือกการทดสอบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในกรณีที่จำเป็นต้องทำ
การรักษาอื่นๆ
1.หากเป็นผื่นแพ้ระยะเฉียบพลัน รอยโรคมีตุ่มน้ำใส มีน้ำเหลืองเยิ้ม และแฉะ ให้ทำการประคบด้วยน้ำเกลือ
2.การใช้ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งช่วยเร่งการหายของรอยโรค โดยโรคผื่นผิวหนังอักเสบเป็นโรคที่รักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ แล้วได้ผลดี มีประสิทธิภาพ แต่การใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงเกินไป หรือใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไป จะส่งผลข้างเคียงได้ จึงควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
3.ยาทาในกลุ่ม topical immunomodulators ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ สามารถใช้เป็นระยะเวลานานๆได้ หรือใช้ในตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยงการทายาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เนื่องจากมีโอกาสเกิดผลข้างเคียง เช่น ใบหน้า ซอกพับ หรือบริเวณอวัยวะเพศ
4.การใช้ยาต้านฮีสตามีนชนิดรับประทานเพื่อบรรเทาอาการคัน
5.ถ้าผื่นผิวหนังอักเสบ มีการติดเชื้อแทรกซ้อน แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับชนิดของการติดเชื้อ
การปฏิบัติตัวอื่นๆ เช่น เลี่ยงการถู ขูด ขัด แกะ เกาผิวหนัง เลี่ยงการสัมผัสต่อสารที่ก่อการระคายเคืองต่างๆ เช่น การล้างมือบ่อยเกินไป การสัมผัสสารก่อการระคายเคืองต่างๆ เช่น สบู่และผงซักฟอก เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง
ยังไงก็อย่าลืมดูแลสุขภาพผิวหนังกันด้วยนะค่ะหากมีอาการดังกล่าว หรือสงสัยเกี่ยวกับโรคผิวหนัง ให้พบแพทย์เพื่อปรึกษา อย่าปล่อยทิ้งระยะเวลานานเกินไปนะค่ะ
ขอบคุณเเหล่งข้อมูล ..
พญ. มริญญา ผ่องผุดพันธ์