
ซาอุดีอาระเบีย เตรียมพัฒนาเมืองอัลอูลาให้กลายเป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก”
ด้วยเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 มกุฎราชกุมาร โมฮัมหมัด บิน ซัลมาน แห่งซาอุดีอาระเบีย หรือ ทีรู้จักกันในพระนามย่อตามสื่อว่า MBS ในฐานะประธาน Royal Commission for AlUta (RCU) ได้เปิดตัวโครงการ Journey Through Time ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเมืองอัลอูลา (ห่างจากเมืองมาดีนะห์ไปทางทิศเหนือประมาณ 400 กม. และห่างจากเมืองเจดดาห์ประมาณ 700 กม.) ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งอารยธรรมโบราณในลักษณะเดียวกับ นครเพตราของจอร์แดนให้กลายเป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก”
.
ภูมิหลัง
.
อัลอูลาเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณแนวเทือกเขา Midian/Hijaz ซึ่งทอดยาวเหนือจรดใต้ขนานกับทะเลแดง ทําให้เมืองอัลอูลามีสภาพอากาศที่เย็นกว่าพื้นที่อื่น ๆ และมีฝนตกอยู่สม่ำเสมอ สามารถเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะอินทผลัมและส้มได้โดยอาศัยแหล่งน้ําใต้ดิน ความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าว ประกอบกับการเป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างเมืองมักกะห์กับเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือทั้งในซาอุดีอาระเบีย จอร์แดน ซีเรีย และเลบานอน จึงทําให้พื้นที่ดังกล่าว มีความเจริญมาตั้งแต่ในอดีตจากการเป็นเส้นทางการค้าและการแสวงบุญที่สําคัญ
.
อัลอูลาเป็นที่ตั้งของแหล่งอารยธรรมโบราณที่โดดเด่นที่ยังคงทิ้งร่องรอยหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันคือ Hegra หรือในภาษาท้องถิ่นคือ Mada’in Salih (City of Salih) ซึ่งมีสถาปัตยกรรมการแกะสลักภูเขาหินเป็นหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่สร้างสมัยอาณาจักรนาบาตีล (Nabateaen Kingdom) ในช่วงต้นก่อนคริสตกาล (นักประวัตศาสตร์ระบุช่วงเวลา แตกต่างกันระหว่างทศวรรษที่ 6 – 4 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีความงดงามคล้ายคลึงกันกับสถาปัตยกรรมของนครเพตราของจอร์แดน ความงดงามดังกล่าวจึงทําให้ Hegra ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของ UNESCO แห่งแรกของซาอุดีอาระเบีย ในปี 2007 ทั้งนี้ นอกเหนือจากมรดกโลก Hegra แล้ว อัลอูลายังเต็มไปด้วยสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่หนาวเย็นเหมาะแก่การ Camping ในช่วงหน้าหนาว เมืองเก่าซึ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ยุคหลังของเมืองอัลอูลา และสวนอินทผลัมและสวนผลไม้หลายสิบแห่งซึ่งรายล้อมไปด้วยทิวเขาหินทรายสีชมพูที่มีรูปลักษณ์สวยงามแปลกตา โดยเฉพาะภูเขาหินรูปช้างซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สําคัญด้านการท่องเที่ยวของเมือง
.
ถึงอย่างไรก็ตาม ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อซาอุดีอาระเบีย เปิดให้มีวีซ่าประเภทท่องเที่ยวเป็นครั้งแรก เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562 แนวทางการปรับใช้บทบัญญัติทางศาสนาในเรื่องดังกล่าวก็เปลี่ยนแปลงไป โดยซาอุดีอาระเบีย ถือว่าไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเมืองของชาว Thamud ที่ถูกระบุอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานและในวัจนะของศาสดา (Hadith) ตั้งอยู่ในจุดใดเป็นการเฉพาะ ขณะที่สถาปัตยกรรม Hegra ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกก็น่าจะอยู่ในช่วง หลังยุคศาสดา Salih ในช่วงต้นคริสตกาลก่อนที่จะถูกอิทธิพลของชาวโรมันเข้ามาปกครองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 ดังนั้น การจัดให้มีการท่องเที่ยวในเมืองดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการขัดต่อคําสอนของศาสดาแต่อย่างใด
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://globthailand.com/saudiarabia-260421/