หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: สุดทึ่งพลังแห่งป่าเศรษฐกิจ  (อ่าน 22 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 1 ธ.ค. 21, 11:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ป่าเศษฐกิจต้นไม้เล็ก สามารถดูดคาร์บอนได้ดีกว่าต้นไม้ใหญ่

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) ชนิดหนึ่งที่มีปริมาณมากที่สุด
ในบรรยากาศ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตเมืองที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งแนวทางหนึ่งในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือการปลูกต้นไม้ โดยผลงานวิจัยหลายฉบับได้มีสถิติออกมายืนยันว่า ต้นไม้เล็ก สามารถดูดคาร์บอนได้ดีกว่าต้นไม้ใหญ่

รายงานผลงานวิจัยของ คุณถิรายุ เกลี้ยงสอาด,คุณลดาวัลย์ พวงจิตรและคุณวาทินี สวนผกา จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้ทำการวิจัยในหัวข้อ“​​การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ในสวนสันติภาพกรุงเทพมหานคร” 
จากการศึกษาพบว่า สวนสันติภาพ มีต้นไม้ทั้งสิ้น 626 ต้น 46 ชนิด 17 วงศ์ โดยจามจุรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ย ความสูงเฉลี่ย และการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ยต่อต้น 
มากที่สุด เท่ากับ 84.75 เซนติเมตร 17.75 เมตร และ 4,238.49 กิโลกรัม/ต้น ตามลําดับ 
นอกจากนี้ยังพบว่า นนทรี มีค่าการกักเก็บคาร์บอนรวม มากที่สุดเท่ากับ 22,167.07 กิโลกรัม จากการศึกษายังพบว่า สัตบรรณ มีอัตราความเพิ่มพูนรายปีของการกักเก็บคาร์บอน และศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด เท่ากับ 68.88 และ 252.79 กิโลกรัม/ต้น/ปี

ผนวกกับผลงานวิจัยของคุณวสันต์ จันทร์แดง,คุณลดาวัลย์ พวงจิตร ,คุณนพพร จันเกิด
และคุณนรินธร จําาวงษ์ จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการวิจัยในหัวข้อ “การกักเก็บคาร์บอนในสังคมพืชป่าไม้ชนิดต่างๆณ สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังนํา้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา” ที่ผลการศึกษาพบว่า ในด้านศักยภาพการตรึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาจจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ 1.ลักษณะโครงสร้างสังคมพืช 2.ลักษณะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของเรือนยอดได้แก่ ขนาด รูปร่าง และการจัดเรียงตัวของส่วนต่างๆของต้นไม้ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้โดยค่าดัชนีพื้นที่ใบ 3.ศักยภาพของการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพรรณไม้ และ4.ลักษณะทางชีพลักษณ์ของต้นไม้ที่เป็นองค์ประกอบของป่า หรืออาจกล่าวได้ว่า โครงสร้างสังคมพืชที่แน่นทึบกว่า ค่าดัชนีพื้นที่ใบที่สูงกว่า และลักษณะทางชีพลักษณ์ที่ไม่มีการผลัดใบในฤดูแล้ง น่าจะเป็นสาเหตุที่ทําให้สังคมพืชนั้นๆ มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงกว่า

จากที่กล่าวมาจึงพอสรุปได้ว่า ต้นไม้ที่มีการปลูกในลักษณะแน่นทึบ และเป็นไม้อายุยังน้อยอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่มากมีศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่สูงกว่าต้นไม้ใหญ่ที่มีการผลัดใบในฤดูแล้ง ซึ่งนั่นก็คือความแน่นหนาและต่อเนื่องในการสร้างป่า นอกจากนี้ชนิดพรรณไม้ที่ควรนํามาปลูก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควรเป็นพรรณไม้โตเร็ว และมีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม