หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: OTT ไทยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.4 พันล้านเหรียญในปี 2563  (อ่าน 32 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 31 มี.ค. 22, 13:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
งานวิจัยใหม่สนับสนุนโดยสมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย ( Asia Internet Coalition) เผยผลศึกษาด้านเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมบริการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต ( OTT) ในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะด้านนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมที่สำคัญนี้

งานวิจัยล่าสุดในหัวข้อ "แนวทางนโยบายเชิงนวัตกรรมต่อระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย" (Innovative Policy Approaches to Thailand's Digital Economy) ได้สำรวจผลกระทบของแพลตฟอร์มวิดีโอซึ่งจัดเป็นบริการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (Over-the-Top - OTT) ต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยมีการประมาณว่าในปี 2563 การให้บริการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการท้องถิ่นในประเทศไทยสามารถสร้างการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 45,106 อัตรา โดยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ (4.67 หมื่นล้านบาท) ในระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 0.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทย บ่งชี้ว่าเงินทุกบาทที่ลงทุนไปในอุตสาหกรรมบริการ OTT ให้ผลตอบแทนเป็นกำไร 2.67 บาทใน GDP ประจำปี 2563 ของไทย งานวิจัยดังกล่าวนี้ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภายใต้สนับสนุนของสมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญของแพลตฟอร์มเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต พร้อมเสนอแนะแนวทางการดำเนินนโยบายเชิงนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย

การบริการ OTT หมายถึง การให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้บริการและนำเสนอเนื้อหาแก่ผู้ใช้ปลายทางผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับอุปกรณ์ของผู้ใช้ด้วยการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย งานวิจัยดังกล่าวนี้พบว่า มีความแตกต่างด้านกฎระเบียบระหว่างผู้ให้บริการเผยแพร่ภาพและเสียงแบบดั้งเดิมกับผู้ให้บริการ OTT กล่าวคือผู้ให้บริการ OTT ใช้โมเดลธุรกิจที่แตกต่างจากผู้ให้บริการเผยแพร่ภาพและเสียงแบบดั้งเดิม อีกทั้งแต่ละฝ่ายต่างมีคุณค่าที่ส่งมอบให้กับลูกค้าที่ไม่เหมือนกัน ตั้งแต่คอนเทนต์ที่สร้างโดยผู้ใช้ไปจนถึงคอนเทนต์ที่คัดสรรโดยผู้ให้บริการ ในแง่นี้ การนำระเบียบปฏิบัติที่เหมือนกันอย่างเคร่งครัดของงการให้บริการเผยแพร่ภาพและเสียงแบบดั้งเดิม มาใช้กับการให้บริการ OTT จึงอาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมในการส่งเสริมอีโคซิสเต็มที่ยั่งยืนของบริการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต และที่สำคัญ ปัจจุบันจะเห็นว่าผู้ให้บริการเผยแพร่ภาพและเสียงแบบดั้งเดิม ได้เริ่มมีการใช้แพลตฟอร์มการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่เนื้อหาเพิ่มขึ้นและสร้างรายได้จากคอนเทนต์ด้วย

ทีมวิจัยได้สำรวจแนวปฏิบัติที่ดีและได้เสนอแนะแนวทางการกำกับดูแลตนเองในอุตสาหกรรมเพื่อทำให้นโยบายของรัฐบาลสอดคล้องกับวิวัฒนาการที่รวดเร็วของธุรกิจ OTT อีกทั้งจะเป็นแนวทางที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตและเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรมของอุตสาหกรรมนี้ด้วย นอกจากนั้น การเพิ่ม ความโปร่งใสในกระบวนการกำกับดูแลตนเองสามารถทำได้โดยจัดทำให้แนวปฏิบัติในการกำกับดูแลตนเองนี้เปิดเผยและเข้าถึงได้โดยสาธารณะและสร้างกระบวนการให้ผู้ให้บริการ OTT สามารถ รับมือกับคำร้องเรียนจากผู้ใช้บริการได้ด้วย แนวทางเช่นนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ให้บริการได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติและรับมือกับคำร้องเรียนโดยสอดคล้องกับแนวปฏิบัตินั้นอย่างเหมาะสม คณะกรรมาธิการการกำกับดูแลตนเองของอุตสาหกรรมควรประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและตรวจสอบได้ทีมวิจัยยังได้แนะนำให้มีการให้แรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรม อย่างเช่นแรงจูงใจทางภาษีและการรับรู้โดยสาธารณะสำหรับบริษัทที่มีการกำกับดูแลตนเอง

"นอกจากผลกระทบทางเศรษฐกิจในเชิงบวก การเติบโตของอุตสาหกรรมบริการ OTT ของประเทศไทยจะสร้างมูลค่ามากมายให้กับผู้บริโภค ธุรกิจ ตลอดจนแพลตฟอร์มวิดีโอแบบดั้งเดิม จากการวิจัยของเรา ประกอบกับการสนทนากับผู้เล่นในอุตสาหกรรมบริการ OTT เราสามารถคาดได้ว่าจะอุตสาหกรรมนี้จะกระตุ้นตลาดการจ้างงานในประเทศไทย เนื่องจากมีความต้องการผู้ผลิตคอนเทนต์และพนักงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดรับกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของคอนเทนต์วิดีโอ นอกจากนี้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงตัวเลือกการโฆษณาที่มุ่งเป้าจำเพาะเจาะจงและประหยัดงบประมาณมากขึ้นได้อย่างง่ายดายสำหรับทั้งสองแพลตฟอร์ม ส่วนผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการมีตัวเลือกที่มากขึ้นสำหรับคอนเทนต์ที่สามารถเข้าดูได้ง่ายและมีอัตราค่าบริการที่เข้าถึงได้ ขณะที่แพลตฟอร์มแบบดั้งเดิมอย่างสถานีโทรทัศน์เอง ก็จะมีโอกาสการเพิ่มรายได้ด้วยการดำเนินการควบคู่ไปกับแพลตฟอร์มบริการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรม OTT ในประเทศไทยต้องได้รับการสนับสนุนด้วยกรอบการกำกับดูแลที่สมเหตุสมผลและมุ่งเน้นความก้าวหน้า เพื่อให้มีการบรรลุศักยภาพและมูลค่าสูงสุดของอุตสาหกรรมนี้" ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว หัวหน้าโครงการ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหนึ่งในผู้นิพนธ์งานวิจัยชิ้นนี้กล่าว

ในประเทศไทย วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 มีส่วนในการขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมบริการ OTT ในไทย รวมถึงการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาทางบริการ OTT เนื่องจากคนอยู่บ้านเป็นจำนวนมากขึ้นและต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตและวิดีโอออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ในปี 2563 ตลาดการโฆษณาทางบริการเผยแพร่วิดีโอออนไลน์มีมูลค่า 547 ล้านดอลลาร์สหรัฐและคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 14% ในปี 2564 โดยคาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,031 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568[1] เมื่อเปรียบเทียบกัน การใช้จ่ายด้านการโฆษณาทางโทรทัศน์ลดลง 10% ในปี 2563 ขณะที่การใช้จ่ายด้านการโฆษณาทางบริการ OTTเพิ่มขึ้น 7%[2]

[1]Statista Research Department. (August 12, 2021). Over-the-top video services market revenue in Thailand 2017-2025 [Graph]. In Statista. Retrieved January 5, 2022, from https://protect-eu.mimecast.com/s/fG5uCEZ5RSPRLjiN9wax?domain=statista.com
[2]DAAT, MAAT, Nielsen Media Research. Advertising Spending in Thailand. (2020)
เกี่ยวกับสมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย

สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย (Asia Internet Coalition - AIC) คือสมาคมอุตสาหกรรมที่ประกอบด้วยบริษัทอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี AIC มุ่งส่งเสริมความเข้าใจและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://aicasia.org/

เกี่ยวกับสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( TURAC)

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงซึ่งมีบทบาทในการช่วยพัฒนาสังคมไทย

สื่อมวลชนต้องการสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อสำนักงานข่าวของสมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียที่ press@aicasia.org

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม