
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ
การปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลัง
ไฟฟ้าโดยการติดตั้งคาปาซิเตอร์หรือตัวเก็บประจุ (Capacitors) ในระบบแรงต่ำเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
เพื่อให้ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าหรือค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power factor, PF.) ของระบบสูงกว่า 0.85 ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถลดค่าไฟในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมให้กับการไฟฟ้าฯ ที่ 56.07 บาทต่อกิโลวาร์
การติดตั้งคาปาซิเตอร์ร่วมกับแผงสวิตช์ในระบบแรงต่ำ มีรูปแบบใดบ้าง ?โดยทั่วไป
การติดตั้งคาปาซิเตอร์ (Mounting position) จะนิยมติดตั้งในรูปแบบของแนวตั้ง (Vertical, Upright) แต่มีพิเศษเฉพาะบางรุ่นเท่านั้น ที่สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน (Vertical and Horizontal) ดังรูปที่ 1 ทั้งนี้ การระบายความร้อนของอุปกรณ์ก็สำคัญเช่นเดียวกัน ตามหลักการที่จะต้องออกแบบให้อากาศภายในเกิดการหมุนเวียนจากด้านล่างไปสู่ด้านบน ซึ่งจะเป็นไปตามหลักการไหลของอากาศโดยที่มวลอากาศร้อนจะเบากว่ามวลอากาศที่เย็น รวมทั้งระยะห่างการติดตั้งระหว่างตัวเก็บประจุด้วยกันและแผ่นกั้นภายในตู้ไฟฟ้า จะต้องเป็นไปตามที่ผู้ผลิตกำหนด โดยเฉพาะต้องมีแผ่นกั้นระหว่างคาปาซิเตอร์และดีจูนรีแอคเตอร์ (Detuned reactors) ดังรูปที่ 2

(ก) รุ่น EasyLogic PFC (ข) รุ่น PowerLogic PFC
รูปที่ 1 แสดงคำแนะนำการติดตั้งคาปาซิเตอร์จากผู้ผลิต Schneider
(อ้างอิงจากเอกสาร NVE4517801-2, 2021 Schneider Electric)

(ก) รูปแบบการติดตั้งที่ถูกต้อง (ข) รูปแบบการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง
รูปที่ 2 รูปแบบการติดตั้งคาปาซิเตอร์ร่วมกับดีจูนรีแอคเตอร์จากผู้ผลิต Schneider
(อ้างอิงจากเอกสาร NVE4517801-2, 2021 Schneider Electric)
เงื่อนไขติดตั้งคาปาซิเตอร์ร่วมกับแผงสวิตช์ในระบบแรงต่ำ หากคาปาซิเตอร์ถูกติดตั้งร่วมกับแผงสวิตช์หลักในระบบแรงต่ำอย่างไม่ถูกต้อง และไม่เป็นไปตามหลักการทางวิศวกรรมตามที่ผู้ผลิตให้คำแนะนำ นอกจากจะส่งผลให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้นสั้นลงกว่าที่ควรแล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นต่ออุปกรณ์ขณะถูกใช้งานได้เช่นกัน เช่นทำให้เกิดการระเบิดของคาปาซิเตอร์ ส่งผลให้แผงสวิตช์ไฟฟ้าหลักเสียหาย จนไม่สามารถจ่ายไฟให้กับอาคารหรือโรงงานได้อย่างปกติ เป็นต้น
หากวิศวกรไฟฟ้า หรือช่างไฟท่านใดต้องการ
ตู้ไฟ คุณภาพดี ตรงตามมาตรฐาน สามารถดูรายละเอียด หรือสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account:
@KJL.connect