ไปเจอที่เว็บไซต์ของมูลนิธิสืบ นาคะสเถียรมาค่ะ เห็นว่าเป็นบทความที่ดี และน่้าชื่นชมที่ประเทศบราซิลมีการจัดการขยะ โดยนำมารีไซเคิลได้เป็นอย่างดี เห็นบทความนี้แล้ว ก็อยากให้บ้านเรามีกระบวนการจัดเก็บขยะที่ดีบ้าง แต่หากเป็นไปได้ มาช่วยกันลดการเกิดขยะกันดีกว่าค่ะ...^^
V
V
V
บราซิล แชมป์โลก ด้านการรีไซเคิลขยะ
ฟุตบอลโลกปี 2010 ที่ผ่านมา (เมื่อกลางปี) ทีมชาติบราซิล อดีตแชมป์โลก 5 สมัย สามารถทำได้ดีที่สุดเพียงแค่การเข้าไปเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนพลาดท่าเสียทีให้กับทีมกังหันลมสีส้มฮอลแลนด์ไปสองประตูต่อหนึ่ง ทำเอาแฟนบอลทั้งในชาติและนอกชาติพากันเสียดายกันยกใหญ่
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม อีก 4 ปีข้างหน้า ปี ค.ศ. 2014 ประเทศบราซิลจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก เมื่อถึงเวลานั้นแฟนบอลคงได้เริ่มเชียร์กันใหม่ ระหว่างนักเตะก็คงต้องลับฝีมือกันใหม่ ส่วนแฟนๆ ก็นั่งรอไป
แต่เรื่องหนึ่งที่ไม่ต้องรอ และสามารถมอบแชมป์โลกให้กับประเทศบราซิลได้เลยนั้น คือ ตำเหน่งแชมป์โลกด้านการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียม – ประเทศบราซิลสามารถครองแชมป์ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เว็บไซต์ Common Dream.org รายงานข่าวว่า ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา บราซิลได้เป็นผู้นำในด้านการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียม โดย สามารถทำการรีไซเคิลกระป๋องได้ถึงร้อยละ 95.5 และมีแนวโน้มจะถึง 100 เปอร์เซ็นต์เต็มในอีกไม่ช้า
ฮูนิโอ เดอ นิโคลา (Henio de Nicola) ผู้ประสานงานองค์กรรีไซเคิลอลูมิเนียมของประเทศบราซิล (Brazilian Aluminum Association หรือABAL) ได้เปรียบเทียบความสำเร็จของการรีไซเคิลได้ว่าเหมือนกับทีมฟุตบอล
“มันเกิดจากความสามมัคคีของทีมงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งมันมีมาตั้งแต่ครั้งแรกที่คิดถึงกระบวนการรีไซเคิลให้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989”
เมื่อเปรียบกับทีมฟุตบอล เดอ นิโคลา บอกว่า กองหลังของเราออกแบบดังห่วงโซ่ที่มีการประมวลผลเชิงโครงสร้างระบบทั้งหมด และงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลที่ทำให้การทำงานแข็งแกร่ง
ขณะที่มิดฟิลด์นั้น ทำหน้าที่ให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไปสู่สาธารณชนทั่วไป และกองหน้าของทีมรีไซเคิลแห่งชาติบราซิลก็คือพลเมืองกว่า 18,000 คน ที่เก็บ (ขยะ) กระป๋องทุกวัน และแน่นอนว่า ประชาชนในจำนวนที่กล่าวกระจายอยู่ทั่วประเทศ
ใน 18,000 คนนั้น ไม่เพียงแต่เป็นการร่วมด้วยลดขยะ แต่เป็นการสร้างรายได้แก่ครอบครัวอีกด้วย
Josias หนึ่งในศูนย์หน้าของการเก็บกระป๋องมาส่งให้กับศูนย์รีไซเคิล บอกว่า มันทำให้เขาประหยัดค่าขนมปังต่อวันให้แก่ครอบครัวทีเดียว โดย Josias มีรายได้จากการเก็บกระป๋องต่อวันราว 30 รีล หรือ 17 ดอลลาร์
ไม่เพียงแต่รายได้ของครอบครัว กลไกการรีไซเคิลกระป๋องยังสร้างรายได้เสริมแก่ ผู้ให้บริการด้านโกดังเก็บสินค้า รวมเป็นผลดีต่อบริษัทผลิตกระป๋องอลูมิเนียมที่ไม่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายการใช้ไฟฟ้าในการถุงอลูมิเนียมบริสุทธิ์ออกมา
ในระดับพื้นที่ การจัดการกับปัญหาขยะกระป๋อง จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ เนื่องจากในช่วงต้นปีที่ผ่านหา สาเหตุของการที่เมืองริโอเดจาเนโรประสบกับอุทุกภัยภัยเพราะการสะสมของขยะจำนวนมาก
ปัจจุบันประเทศบราซิล มีกระป๋องที่ถูกนำมารีไซเคิล กว่า 14 พันล้านกระป๋อง หรือเทียบเท่ากับเรือไททานิค 4 ลำ
ในอนาคตบราซิลยังจะพัฒนากลไกการรีไซเคิลกระป๋องให้ก้าวหน้าออกไปจากเดิมอีก (อย่างน้อยๆ ก็ให้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ตามที่กล่าวไว้)
คงไม่เพียงแต่นำกลับมาผลิตเป็นกระป๋องน้ำอันใหม่ แต่ยังพัฒนาไปสู่การทำพรมรถยนต์ วัสดุที่ใช้กับสระว่ายน้ำ นำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ไม่แน่อาจเป็นไปได้ว่าฟุตบอลโลกครั้งต่อไป ทีมชาติบราซิลอาจใส่เสื้อที่ได้จากรีไซเคิลลงสนามแข่ง
ส่วนจะคว้าชัย ครองแชมป์โลกเป็นสมัยที่ 6 ได้หรือไม่นั้น เรื่องนี้ต้องติดตามตอนต่อไป
...
ขอบคุณมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร สำหรับบทความดีๆ ด้วยนะคะ
ส่วนใครที่อยากบทความอื่นๆ เพิ่มเติม ก็เข้าไปดูได้ที่ http://www.seub.or.th ค่ะ 