พูดเหมือนไปนั่งดูเวลาไข่เจียวกินข้าวทุกมื้อเลยเนาะ 
[/size]สองถิงไม่เห็นฝรั่งจะต้องกินพริกขี้ฟ้า กินกระเพรา มะเขือพวง [/size][/color]
หรืออีกมากหลายอย่างเหมือนที่ศิษย์พี่ใหญ่ว่ามาพวกเขาก็ยังดู
สุขภาพแข็งแรงแถมอายุยังยืนยาวกว่าคนไทยเป็นไหนๆเลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องกินผักก็สามารถมีอายุยืนยาวและสุภาพดีได้แค่หา
ของกินอย่างอื่นมากินเพื่อทดแทนที่กินไม่ได้ก็มีถมไป [/color]

ก็พูดเหมือนที่เห็นสองถิงเขียนเล่าเรื่อง การดื่มของมึนเมา มานะแหละ

ทำนองเดียวกัน

มีหลักฐานอ้างอิงคำพูดทุกคำ

โถๆ สองถิงเอ๊ย พริกชี้ฟ้า กะเพรา มะเขือพวง มันเป็นผักเขตร้อน ต้องนำเข้าไป จึงมีกินเฉพาะร้านอาหารไทยในต่างแดนเท่านั้น เพราะ สั่งนำเข้าไปราคาแพงกว่าผักพื้นเมืองของเขา ผักเมืองหนาว ซึ่งมีตั้งมากมาย
สองถิงเอาแต่เถียง

มาทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่เคยเห็น

เฮ้อ

ฝรั่งกินสลัดผักนาชนิด เยอะแยะไปหมด

สเต็ก ก็มีแครอท ถั่วฝักยาวฝรั่ง สับปะรด
ฝรั่งไม่ได้แข็งแรงเลย ขี้โรคมากๆ แต่การแพทย์เจริญมาก

จึงยื้อชีวิตไว้ได้นาน

เคยไปอเมริกา และออสเตรเลีย มีแต่ฝรั่งอ้วนๆทั้งนั้น อ้วนมากแบบที่ไม่เคยเห็นฝรั่งแบบนี้ที่เมืองไทย เพราะว่า อ้วนจนขึ้นเครื่องบินมาไม่ได้ ที่นั่งไม่พอ แม้จะเป็นfirst classก็ตาม


จาก National Geographic ได้ทำการสำรวจมา ทั่วโลกพบว่า
สาเหตุการเสียชีวิตของมนุษย์บนโลกนี้คือ
อันดับ 1 โรคหัวใจ 1 คน ใน 5 คน
อันดับ 2 โรคมะเร็ง 1 คน ใน 7 คน
อันดับ 3 โรคหลอดเลือดสมอง 1 คน ใน 24
สาเหตุหลักของ 3 อันดับแรก เกิดจากการกินที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ
และไม่มีการออกกำลังกายน่ะครับ
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) กล่าวว่าทุกๆ ปีจะมีผู้คนชาวโลกประมาณ 46 ล้านคนตายลงด้วยโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ซึ่ง 46 ล้านคนที่ตายด้วยโรคที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้เกือบจะ 60% ของสาเหตุการตายทั้งหมดของชาวโลกเลยทีเดียว (ส่วนสาเหตุการตายของคนไทยจากสถิติล่าสุด ก็คือ มะเร็ง โรคหัวใจหลอดเลือด และโรคเบาหวาน)
โดยสาเหตุของการตายไม่ได้จำกัดอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วเหมือนแต่ก่อนนี้แล้ว จากสถิติพบว่าสาเหตุการตายเกือบจะทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงวิถีของการดำเนินชีวิต และการกินอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมันอิ่มตัว (saturated fat) และเกลือสูง แต่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่าคนอินเดียและคนจีนจะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและเส้นเลือดจำนวนมาก และยังมากกว่าจำนวนผู้ป่วยในประเทศที่พัฒนาแล้วทุกๆ ประเทศรวมกันเลยทีเดียว

http://biology.ipst.ac.th/?option=com_content&view=article&id=151:2009-12-22-10-05-31&catid=45:bio-article-&Itemid=112
บรรดาผู้เชี่ยวชาญให้เหตุผลว่า
มี 2 ปัจจัยที่ทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรโลกสูงขึ้น คือผู้คนอายุยืนยาวขึ้นเนื่องจากการพัฒนาการรักษาพยาบาล และอัตราการเกิดของประชากรลดลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเอเชียและยุโรปหลายประเทศ

http://www.wearehappy.in.th/happy-society/agepeople/
ในราวตอนต้นคริสศตวรรษที่ 20 อายุขัยเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวเป็น 50 ปี โดยเฉพาะในหมู่ประชากรของประเทศอุตสาหกรรม แต่ชาวประเทศโลกที่สามส่วนใหญ่โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาแล้วอายุขัยเฉลี่ยยังไม่ถึง 40 ปี ในปัจจุบันนี้ประชากรของประเทศอุตสาหกรรมมีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 80 ปี ซึ่ง
ชาวญี่ปุ่นได้ครองแชมป์ของการมีอายุขัยเฉลี่ยที่สูงที่สุดในโลก (Wilmoth 1997)
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Article18.htm
สำหรับปัญหากายภาพเรื้อรังนั้น องค์การอนามัยโลกคาดประมาณว่า ร้อยละ 30 ของการตายจากมะเร็งหลอดอาหาร โรคตับ โรคชัก อุบัติเหตุจราจร ฆาตกรรม และการบาดเจ็บโดยเจตนา
มีสาเหตุจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และในกลุ่มประเทศยุโรปที่มีอัตราการบริโภคพอๆ กับคนไทยนั้น 1 ใน 4 ของการตายในผู้ชายอายุระหว่าง 15-29 ปี นั้นมีสาเหตุมาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยอาจสรุปเป็นความเสี่ยงระหว่างผู้ไม่ดื่มและผู้ที่ดื่มประจำทุกวัน (category II) ในปริมาณ 20.0-39.9 กรัมของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือเทียบได้กับเบียร์ 1-2 ขวดใหญ่ โดยประมาณดังนี้ แท้ง (spontaneous abortion) เสี่ยง 1.8 เท่า มารดาคลอดทารกน้ำหนักต่ำ (low birth weight) เสี่ยง 1.4 เท่า มะเร็งปากและช่องปาก (mouth and oropharynx cancers) เสี่ยง 1.8 เท่า มะเร็งหลอดอาหาร (esophagus cancer) เสี่ยง 2.4 เท่า มะเร็งอื่นๆ เสี่ยง 1.3 เท่า ความดันเลือดสูง เสี่ยง 2.0 เท่า ตับแข็ง (liver cirrhosis) เสี่ยง 9.5 เท่า หัวใจเต้นผิดปกติ (cardiac arrhythmias) เสี่ยง 2.2 เท่า
จากราย
งานประจำปีขององค์การอนามัยโลกปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ที่มุ่งชี้ให้เห็นภาระโรค (disease burden) จากมุมมองความเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงพบว่า [/size][/color]การบริโภคแอลกอฮอล์เป็นความเสี่ยงที่มีภาระโรคสูงเป็นอันดับ 5 [/size][/color] รองจากภาวะขาดอาหาร เพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย (uns
afe sex) ภาวะความดันเลือดสูง การบริโภคยาสูบ โดยการบริโภคแอลกอฮอล์นำมาซึ่งการตายก่อนวัยอันควรจากอุบัติเหตุ ความรุนแรง และโรคภัยไข้เจ็บมากมายซึ่งการบริโภคแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุสำคัญ
http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=998