|
คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าที่เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการเข้าร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณีสำคัญที่สุดที่ชาวคริสต์ถือปฏิบัติกันในวันคริสต์มาส
คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษ ในปี 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ในภาษาไทย "คริสต์มาส" ก็มีความหมายเช่นกัน คำว่ามาส แปลว่า เดือน เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูเจ้าคริสตเจ้าเป็นพิเศษ อีกความหมายหนึ่งของคำว่ามาส คือดวงจันทร์ ฉะนั้น จึงตีความหมายเป็นภาษาไทยได้อีกอย่างหนึ่ง คือพระเยซูเจ้าเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืน คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณแปลว่าสันติสุข และความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส โดย...คุณพ่อมีเกล กาไรซาบาล
|
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
ชาวไทยฉลอง "วันเฉลิมพระชนมพรรษา" วันที่ 5 ธันวาคม เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทุกปี ในสมัยโบราณก็มีประเพณีเช่นเดียวกัน
ชาวโรมันมีการระลึกถึงการสมภพของพระจักรพรรดิ์ คนท้องถิ่นอื่นก็ระลึกถึงและเฉลิมฉลองวันเกิดของกษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมืองของตนด้วยความยินดี แม้แต่ชาวยิวในสมัยของพระเยซูเจ้าเองก็ฉลองการเกิดของกษัตริย์เฮโรด เช่นเดียวกัน (มธ. 14:16)
เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวคริสต์สมัยโบราณถือเอาประเพณีของชนในท้องถิ่นนั้นมาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลอง เพื่อระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซูเจ้า ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลกผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณีนี้ได้เริ่มมาจากกรุงโรม ในศตวรรษที่ 4 และค่อย ๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป โดย...คุณพ่อมีเกล กาไรซาบาล  การฉลองคริสต์มาสแพร่มาจากกรุงโรม ไปยังทุกประเทศ พร้อมกับศาสนาคริสต์ที่ค่อย ๆ แผ่ขยายไปในที่ต่าง ๆ จนในปี ค. ศ.1100 ประชาชนก็เป็นคริสตชนทั้งหมดทั่วยุโรปและก็มีการฉลองวันคริสต์มาสพร้อมกันในยุโรป เพราะถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในศาสนา
เราสามารถแบ่งวิวัฒนาการของการฉลองวันคริสต์มาสเป็น 4 ช่วง คือ
1) ค.ศ. 330-1100 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ที่ละเล็กที่ละน้อยก็มีการฉลองวันคริสต์มาสและก็มีการเริ่มเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ก่อนคริสต์มาส เป็นเวลาเตรียมตัวโดยการใช้โทษบาป อดอาหาร และภาวนาเป็นพิเศษ
2) ค.ศ. 1100 - ศตวรรษที่ 16 ช่วงนี้มีการพัฒนาประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการฉลองคริสต์มาส เช่น การแต่งเพลงคริสต์มาส การทำถ้ำพระกุมาร การทำต้นคริสต์มาส
3) ศตวรรษที่ 16-19 ระยะนี้มีการแตกแยกในคริสตศาสนา เกิดนิกายบางนิกายขึ้นมา ซึ่งบางนิกายไม่สนับสนุนให้มีการฉลองคริสต์มาส ด้วยเหตุผลที่ว่าคริสต์มาสเป็นวันที่มนุษย์เลือกเอาเองโดยได้รับอิทธิพลจากชาวโรมัน ที่ฉลองดวงอาทิตย์คล้ายเป็นพระเจ้าของเขา และชาวบ้านก็ให้ความสำคัญแก่วันนี้มากกว่าวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้ากำหนดให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม ชาวคาทอลิกพร้อมกับคริสตศาสนาหลาย ๆ นิกาย เช่น Lutheran เป็นต้น ยังรักษาการฉลองนี้ไว้ด้วยความอบอุ่น และศรัทธาจนถึงปัจจุบัน
4) ศตวรรษที่ 19 - ปัจจุบัน เริ่มมีการประเพณีอื่นทางโลกแทรกเข้ามา ซึ่งมีอิทธิพลต่อการฉลองนี้มาก เช่นเรื่องซานตาคลอส การให้ของขวัญ การส่งบัตรอวยพรคริสต์มาส ซึ่งร้านต่างๆยินดีสนับสนุน เพราะเป็นโอกาสดีที่จะขายสินค้าช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้นไปในตัว ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านทั่วไปก็อาจจะลืมความสำคัญ หรือความหมายที่แท้จริงของคริสต์มาส โดยหั นมาเพิ่มความสนใจในสิ่งภายนอกกว่า โดย...คุณพ่อมีเกล กาไรซาบาล
|
|
|
|
![]() |
|
|
ฉบับนี้เป็นเดือนที่เราระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซูเจ้า ทารกน้อยที่เกิดมาในรางหญ้าท่ามกลางฝูงโคลา ในค่ำคืนที่เงียบสงัด เราสามารถร่วมเฉลิมฉลองยินดีกันด้วยการร้องเพลงวันคริสต์มาสเพื่อเทิดเกียรติแด่พระกุมารเยซู มาพูดคุยกับคุณพ่อประชาชาติ ปรีชาวุฒิ
ในฐานะที่คุณพ่อเองเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับเรื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ แต่ก่อนอื่นคงต้องบอกก่อนว่าเป็นการพูดคุยกัน และเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยส่วนตัว คงไม่ใช่การให้ข้อมูลทางเนื้อหา หรือจะต้องเป็นหลักแนวทางปฏิบัติ เป็นแค่เพียงการแลกเปลี่ยนแนวความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น
อยากให้คุณพ่อเล่าถึงประวัติความเป็นมาของบทเพลงวันคริสต์มาส ว่าช่วยสื่อ หรือถ่ายทอดธรรมล้ำลึกของการบังเกิดเป็นพระเยซูได้อย่างไรบ้างคะ ประวัติความเป็นมาเท่าที่สามารถจะค้นพบจากสิ่งที่อ้างอิงได้ คือในสมัยศตวรรษที่ 5 ว่าบรรดาพระสงฆ์ บรรดาฤาษี หรือบุคคล ทั่วๆ ไป มีการขับร้องบทเพลงคริสต์มาส เป็นภาษาลาติน ลักษณะของบทเพลงก็จะเป็นอะไรที่เรียบง่ายแต่สง่างาม
โดยบรรยากาศของบทเพลงจะเปี่ยมไปด้วยความหวังและความชื่นชมยินดีแสดงถึงการเสด็จมาของพระเยซูพระผู้ช่วยให้รอดที่เรามนุษย์กำลังรอคอยด้วยหัวใจที่จดจ่อ และหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง ต่อมาในศตวรรษที่ 12 นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีและคณะนักบวชฟรังซิสกัน ได้ส่งเสริมสนับสนุน บทเพลงแห่งวันคริสต์มาสให้มีความสง่างาม ความร่าเริง และความชื่นชมยินดีในโอกาสวันคริสต์มาสเสมือนเป็นวิวัฒนาการของบทเพลง วันคริสต์มาส ให้มีชีวิตชีวา พร้อมทั้งเริ่มใช้เป็นภาษาพื้นเมืองมากขึ้น
หลังจากนั้นมาในศตวรรษที่ 17 บุคคลทั่วไปก็ได้เริ่มร้องเพลงคริสต์มาสกันอย่างแพร่หลายขึ้นมาอีกจึงทำให้บทเพลงคริสต์มาสที่เริ่มใช้ในวัดหรือในพิธีกรรมของคริสตชนก็ได้แพร่หลายออกไปมีการร้องตามลานสาธารณะ หรือตามบ้านบทเพลงก็มีการแต่งเพิ่มเติมโดยให้ความหมายของบรรยากาศของคริสต์มาสทั่วไปซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับบทเพลงในพิธี
จนมาถึงสมัยศตวรรษที่ 19-20 และจนถึงปัจจุบันนี้ บทเพลงคริสต์มาสก็มีการเพิ่มเติมสีสันมากขึ้นอย่างที่เราได้สัมผัสจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงบุคคลในพระคัมภีร์ ความหมายบรรยากาศทั่วๆ ไป หรือการเตรียมจิตใจสำหรับวันคริสต์มาสที่กำลังจะมาถึง หรือแม้กระทั่งเพิ่มตัวบุคคลอย่างเช่น ซานตาคลอสเข้าไป ซึ่งแท้ที่จริงก็ไม่ได้มีส่วนในเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์ของพระเยซูเจ้าอย่างไร แต่อย่างไรก็ดีก็ยังสะท้อนถึงความหมาย ถึงจิตตารมณ์แห่งวันคริสต์มาส องค์พระกุมารเยซูเจ้า ที่ลงมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา พระองค์เป็นองค์ความหวังที่จะนำสันติสุข ความรักและการช่วยให้รอดที่มนุษย์กำลังรอคอยมาสู่จิตใจของเรา ให้เรามีจิตตารมณ์แห่งความรัก และการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ องค์พระเยซูเจ้าก็ยังคงเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดอยู่นั่นเอง อยากให้คุณพ่อยกตัวอย่างของบทเพลงที่ช่วยสื่อความหมายของ วันคริสต์มาสคะ พ่อคิดว่าบทเพลงก็สามารถถ่ายทอดจิตตารมณ์ที่เราต้องการจะสื่อ และจำเป็นที่เราจะต้องรู้จักแยกแยะให้เหมาะสมกับบรรยากาศที่เราต้องการจะสื่อด้วย ดังตัวอย่างเพลงเหล่านี้ เช่น
1. บทเพลงที่สื่อถึงความหมาย และถ่ายทอดความรู้สึกถึงความเปี่ยมสุขและสันติในจิตใจ ตัวอย่างเช่น - เพลง Adeste Fideles (O come, all ye fait้hful) เข้าใจว่าคงจะมีการใช้ร้องมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 แล้วต่อมาในศตวรรษที่ 17 ก็นำมาขับร้องกันอย่างแพร่หลายทั่วไป ซึ่งเป็นบทเพลงภาษาลาตินที่เก่าแก่ที่ใช้มาถึงปัจจุบันผู้แต่งเนื้อเพลงเราไม่ทราบว่าใครเป็นคนแต่งแต่ผู้แต่งทำนองก็คือ John Reading เป็นชาวอังกฤษและที่แปลเป็นเนื้อร้องภาษาไทยที่เราร้องกันอยู่จนถึงทุกวันนี้คือเพลง “ขอเชิญท่านผู้วางใจ”
2. บทเพลงที่สื่อถึงคำสัญญาหรือเป็นพระสัญญาของพระเจ้าต่อมนุษย์ - บทเพลง O Holy Night (เพลงโอ้คืนศักดิ์สิทธิ์) หรือเพลง O come, O come Emmanue l (เพลงเชิญเถิดเอ็มมานูแอล) 2 บทเพลงนี่ก็เป็นการสื่อความหมายถึงการเสด็จมาของพระเยซูเจ้าท่ามกลางเรา ในท่ามกลางความมืดมิดของโลกมนุษย์ พระเยซูเจ้าทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์เป็นเสมือนแสงสว่างที่นำความหวังและความหมายมาสู่โลกมนุษย์ของเรา
3. บทเพลงที่สื่อถึงความสงบเงียบ แต่เปี่ยมด้วยความหวังและความศักดิ์สิทธิ์ของค่ำคืนคริสต์มาส - ตัวอย่างเช่น บทเพลง Silen night ; Holy Night แต่งขึ้นประมาณศตวรรษที่ 19 เนื้อหาของเพลงก็จะเป็นบรรยากาศยามค่ำคืนที่มืดมิดแต่กลับเปี่ยมไปด้วยความอบอุ่นแห่งความหวัง ความงดงามแห่งความหวังความสงบและสันติจึงเป็นค่ำคืนที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งคริสต์มาส
นี่ก็คือตัวอย่างบางส่วนที่พ่อยกมาให้ดูกัน ที่สามารถสะท้อนถึงจิตตารมณ์ของวันคริสต์มาสได้ การมอบความรัก ความใจดีความบริสุทธิ์ โดยไม่หวังผลตอบแทนเหมือนอย่างองค์พระผู้เป็นเจ้าพระผู้ช่วยให้รอดที่เสด็จลงมาช่วยมอบชีวิตของพระองค์ให้กับเราทุกคนโดยมีความรักบริสุทธิ์และเปิดใจกว้างให้แก่กันและกัน ที่่มา : สารอัครสังฆมณฑล ฉบับที่ 6 เดือนธันวาคม 2003
|
|
|
|
![]() |
|
|
THIS IS CHRISTMAS O COME, O YE FAITHFUL JOY TO THE WORLD SILENT NIGHT O COME, O COME, EMMANUEL
|
|
|
|
![]() |
|
|
O HOLY NIGHT HARK THE HERALD ANGELS SING AWAY IN A MANGER WHAT CHILD IS THIS HALLELUJAH...LIGHT HAS COME
|
|
|
|
![]() |
|
|
ALL I WANT FOR CHRISTMAS IS YOU SILVER BELLS JINGLE BELL ROCK ROCKIN' AROUND THE CHRISTMAS TREE THE FIRST NOEL
|
|
|
|
![]() |
|
|
CHRISTMAS SONG ANGELS WE HAVE HEARD ON HIGH BORN THAT WE MAY HAVE LIFE LOVE CAME DOWN AT CHRISTMAS WHEN LOVE WAS BORN
|
|
|
|
![]() |
|
|
THE CHRISTMAS HOPE THE MIRACLE OF CHRISTMAS JESUS BORN ON THIS DAY WHITE CHRISTMAS CHRISTMAS TIME
|
|
|
|
![]() |
|
|
THE LITTLE DRUMMER BOY EMMANUEL HAVE YOURSELF A MERRY LITTLE CHRISTMAS CAROL OF THE BELLS GOD REST YE MERRY GENTLEMEN
|
|
|
|
![]() |
|
|
JOSEPH'S LULLABY ANGELS LULLABY ROSE OF BETHLEHEM CHRISTMAS OFFERING I HEARD THE BELLS ON CHRISTMAS DAY
|
|
|
|
![]() |
|
|
O, LITTLE TOWN OF BETHLEHEM WE THREE KINGS DECK THE HALLS GO TELL IT ON THE MOUNTAIN CHRISTMAS THIS YEAR
|
|
|
|
![]() |
|
|
MARY DID YOU KNOW SON OF GOD CHRISTMAS ANGELS WELCOME TO OUR WORLD BEAUTIFUL CHRISTMAS
|
|
|
|
![]() |
|
|
DO YOU HEAR WHAT I HEAR? CHRIST IS COME IT CAME UPON A MIDNIGHT CLEAR AVE MARIA JOYFUL JOYFUL WE WISH YOU A MERRY CHRISTMAS
|
|
|
|
![]() |
|
|
ไม่มีซานตาคลอส ไม่มีมนุษย์หิมะ ไม่มีกวางเรนเดียร์...เพราะหัวใจของวัน คริสต์มาส คือ "พระเยซูคริสต์"
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
|