มาแล้ว!!! กับโฆษณาของ สี 4 Seasons ชุดใหม่
http://www.toahomeguide.com/tvc/4seasons3.jpg
ตอนแรกก็สังสัยอยู่ว่าเจ้า มอก 2531 มันคืออะไรกันนะ...?
ก็พอดีมีเพื่อนอยู่วงการสีนะ เขาให้ข้อมูลมาก็เลยเอามาลงให้เพื่อนๆ ได้เสริมความรู้กันซะหน่อย
ด้วยสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงและแปรปรวน ยากจะคาดเดาได้ในปัจจุบันทั้งร้อนจัด หนาวจัด ฝนตก น้ำท่วม ความชื้น และเชื้อรา ทำให้ต้องเลือกใช้สี(ทั้งที่ทาภายนอกและภายใน) ชนิดที่ “ทนทุกสภาวะ” เพื่อให้ใช้ได้นานและคุ้มค่าจนเกิดนวัตกรรมสีหลากหลายในท้องตลาดให้เราได้เลือกใช้แต่จะเลือกอย่างไรให้ได้สีที่ “ใช่” นั้นคงต้องดูจากหลายองค์ประกอบ แต่ที่ง่ายที่สุด คือสังเกตจากเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรมและผู้ผลิตที่ไว้ใจได้
มอก. 2321–2549 เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสีอิมัลชันชนิดทนสภาวะอากาศ ที่ครอบคลุมสีที่ใช้สำหรับสีทาอาคารทั้งภายนอกหรือภายใน และแห้งได้เองในอากาศโดยกำหนดคุณสมบัติให้ต้องมีความทนทานต่อเชื้อรา ตะไคร่ (เฉพาะสีภายนอก) สภาพลมฟ้าอากาศ(เฉพาะสีภายนอก) แสง (เฉพาะสีภายใน) ทนน้ำ (เฉพาะสีภายนอก) ด่าง การเช็ดล้าง (เฉพาะสีภายใน)และการขัดถู (เฉพาะสีภายนอก) ตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องเร่งสภาวะ1,000 ชั่วโมง ผ่านการทดสอบเรื่องการขัดถูได้ 3,000 รอบ ต้องทนทานต่อเชื้อราโดยแช่แผ่นทดสอบเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ทดสอบความทนด่างโดยแช่ในแคลเซียมไฮดรอกไซด์เป็นเวลา48 ชั่วโมง (สีภายใน) และ 144 ชั่วโมง (สีภายนอก) ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ทนต่อสภาวะอากาศเมื่อนำมาใช้งานจริง ขณะที่ มอก. 272-2549 (สำหรับสีอิมัลชันชนิดใช้งานทั่วไป) จะไม่เหมาะกับสภาพการใช้งานที่สมบุกสมบันเท่ากับชนิดแรก (ดูรายละเอียดตามตารางเปรียบเทียบ)