เอเอ็มดี เปิดตัวแพลตฟอร์มหน่วยเร่งการประมวลผล “AMD Embedded R-Series APU Platform” สำหรับระบบอุปกรณ์ฝังตัว
ด้วยประสิทธิภาพการประมวลผลซีพียู X86 แบบหลายคอร์สมรรถนะสูงและความสามารถที่ล้ำหน้าทั้งด้านกราฟฟิกและวิดีโอ และพลังการประมวลผลแบบคู่ขนานความเร็วสูงเหนือระดับ แพ ลตฟอร์มหน่วยเร่งการประมวลผลสำหรับระบบอุปกรณ์ฝังตัว “AMD Embedded R-Series” จึงเหมาะกับแอพพลิเคชั่นสมองกลฝังตัวที่ต้องใช้การประมวลผลในระดับสูง (performance-intensive embedded applications)
บริษัท เอเอ็มดี ประกาศเปิดตัว แพลตฟอร์มหน่วยเร่งการประมวลผลสำหรับระบบอุปกรณ์ฝังตัว “AMD Embedded R-Series” ซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นกราฟฟิก ในระดับกลาง-สูง (graphics-intensive applications) ได้แก่ ป้ายโฆษณาดิจิทัล, เครื่องเล่นเกมในคาสิโน, ระบบบริการ ณ จุดขาย (point-of-sale systems) และเครื่อง ให้บริการอัตโนมัติ (kiosks) รวมถึงแอพพลิเคชั่นที่ใช้พลังการประมวลผลแบบคู่ขนานสมรรถนะสูง เพื่อทำการประมวลผลภาพถ่ายทางการแพทย์ และระบบการตรวจตราและรักษาความปลอดภัย (security/surveillance) ทั้งนี้ แพลตฟอร์มหน่วยเร่งการประมวลผลสำหรับระบบอุปกรณ์ฝังตัว “AMD Embedded R-Series” จะทำงานร่วมกับสถาปัตยกรรมใหม่ด้านตัว ประมวลผลของเอเอ็มดี ในชื่อ “Piledriver” ซึ่งเป็นวิวัฒนาการจากสถาปัตยกรรม “บูลโดสเซอร์ (Bulldozer)” และกราฟฟิกชิพที่มีความแรงในระดับการ์ดจอแยก AMD Radeon™ HD 7000 Series ซี่งสนับสนุน DirectX 11 ในแพลตฟอร์มการประมวลผลระบบอุปกรณ์ฝังตัวแบบมัลติคอร์ของหน่วยประมวลผลที่แตกต่างกัน (heterogeneous multicore embedded processing platform)
ทั้งนี้ แพลตฟอร์มหน่วยเร่งการประมวลผลสำหรับระบบอุปกรณ์ฝังตัว “AMD Embedded R-Series” ได้มีการรวมเอาทรัพยากรที่จะสนับสนุนสมรรถนะการทำงานที่ยอดเยี่ยม ด้วย การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อลดการใช้พลังงาน และพื้นที่ของชิพ ขณะเดียวกัน ความสามารถในด้านการปรับขยาย ของหน่วยเร่งการประมวลผลใหม่นี้ ยังช่วยนักพัฒนาในเรื่องความยืดหยุ่นที่จะ ปรับใช้การออกแบบบอร์ด และ software stack เดียวกัน ไปใช้กับแอพพลิเคชั่นที่แตกต่างกันได้ นอกจากนี้ การนำกราฟฟิกชิพที่มีความแรงในระดับการ์ดจอแยก ของเอเอ็มดี เข้ามาใส่ไว้ ในตัวประมวลผล ยังช่วยให้ปัจจุบันสามารถส่งมอบแอพพลิเคชั่นที่ก่อนหน้านี้ ต้องการกราฟฟิกชิพ หรือกราฟฟิการ์ดแยกต่างหาก ให้กับผลิตภัณฑ์ในรูปลักษณ์ที่หลากหลายยิ่งขึ้นได้ ทั้งนี้ ความสามารถด้านมัลติมีเดียที่จะเพิ่มเข้ามาในหน่วยเร่งการประมวลผล AMD Embedded R-Series APU ยังรวมถึง:
o เครื่องมือในการบีบอัดวิดีโอ ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์สามารถใช้โปรแกรมในการแปลงและบีบอัดวิดีโอ ได้อย่างมีประสิทธิและรวดเร็ว สำหรับแอพพลิเคชั่นทางด้านการประชุมผ่านจอภาพ หรือการตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัย
o ฟังก์ชั่น Secure Asset Management unit สำหรับช่วย GPU ในการเข้ารหัส/การถอดรหัสคอนเทนท์, ลดค่าใช้จ่ายด้าน CPU และใช้พลังงานน้อยลงในการ ทำงานกับไฟล์ที่ได้รับการป้องกัน (protected content)
o การเพิ่มขึ้นของ Unified Video Decoder ที่ขยายความสามารถของแพลตฟอร์ม AMD Embedded R-Series APU ให้ครอบคลุมถึง การเปิดเล่นไฟล์ ภาพยนตร์ที่เป็นวิดีโอความละเอียดสูงได้ถึงในเวลาเดียวกัน 2 ชุด (dual, high-definition decode) และการดูภาพ 3 มิติได้แบบ 360 องศา (stereoscopic 3D)
สำหรับแอพพลิเคชั่นที่ใช้ประโยชน์จากหลายหน้าจอ เช่น เครื่องเล่นเกมในคาสิโน หรือวิดีโอ วอลล์ ในป้ายโฆษณาดิจิทัลนั้น หน่วยเร่งการประมวลผลสำหรับระบบอุปกรณ์ฝังตัว AMD Embedded R-Series APU ก็สนับสนุนการเชื่อมต่อหน้าจอที่แยกการทำงานออกจากกันได้ 4 หน้าจอ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการแสดงผลของ video feed จากหน้าจอที่แยกจาก กันได้ถึง 4 หน้าจอ หรือแสดงผล video feed จากหน้าจอเดียวไปยัง 4 หน้าจอได้ ด้วยการติดตั้งเพิ่มเติมกราฟฟิกการ์ดแบบแยกสำหรับระบบอุปกรณ์ฝังตัว AMD Radeon™ Embedded graphics card เข้าไปในระบบก็จะช่วยให้จำนวนหน้าจอที่ทำงานแยกจากกันขยายเพิ่มได้สูงสุดถึง 101 หน้าจอ
ที่มา:
http://www.thaibusinesspr.com/amd-embedded-r-series-apu-platform/