จับตา..."หนี้สาธารณะ" ที่คนไทยต้องแบกรับ...!!!


ประเทศเราเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการกู้ยืมเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะหลังจากประสบเหตุอทกภัยครั้งรุนแรงเมื่อปีพ.ศ. 2554 แต่นั่นก็เป็นเพียงเหตุผลหนึ่งในหลายเหตุผลของรัฐเพื่อการกู้ยืมเงินพัฒนาประเทศ และมีแนวโน้มว่าปี 2556 นี้จะมีหนี้ใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกไม่ช้า จากรายงานหนี้สาธารณะ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ.2555 โดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ พบว่า ประเทศไทยเป็นหนี้คงค้างถึง 4,961,287,61 ล้านบาท หรือ 43.99 ของ GDP หนี้สาธารณะ คืออะไร?หนี้สาธารณะ (Public Debt) คือ หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมของรัฐบาล กล่าวคือ เมื่อฐานะการเงินของรัฐบาลเกิดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากการที่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับในปีงบประมาณนั้น โดยทั่วไปรัฐบาลจะตั้งงบประมาณแบบขาดดุลบ้าง แต่ต้องไม่มากเกินไป เมื่อขาดดุลรัฐบาลก็จะนำเงินทุนสำรองออกมาใช้ แต่ถ้านำมาใช้มาก เกินไปก็จะมีผลเสียต่อเสถียรภาพทางการคลัง และมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนและความเชื่อมั่นของต่างชาติต่อประเทศไทยได้ รัฐบาลมีทางแก้หลักๆ อยู่ 2 วิธี คือ การเพิ่มภาษี และการกู้ยืมเงิน การเพิ่มภาษีจะลดรายได้และกำลังซื้อของประชาชนและธุรกิจ และจะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ รัฐบาลจึงมักเลือกการก่อหนี้สาธารณะหรือการกู้ยืมเงิน อย่างไรก็ตามการมีหนี้สาธารณะมากเกินไปจะสร้างปัญหาในระยะยาวได้ เพราะหนี้ เหล่านี้เป็นภาระที่รัฐบาลต้องชำระคืนทุกปี ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้แต่ละปีประเทศต้องผ่อนชำระหนี้สูงและเบียดบังเงินงบประมาณที่จะนำมาพัฒนาประเทศ และการมีหนี้สาธารณะสูงเกินไปจะมีผลต่อความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยได้
ประเภทของหนี้สาธารณะ 1. แบ่งตามระยะเวลาของเงินกู้ 1.1. หนี้ระยะสั้น (Short term) มีกำหนดเวลาใช้คืน 3 เดือน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นการกู้ที่รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินในระยะสั้นๆ จะออกเป็นตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills) หรือออกใบรับรองการเป็นหนี้ให้ การกู้ประเภทนี้จะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่วนใหญ่รัฐบาลกู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย
1.2. หนี้ระยะปานกลาง (Intermediate term) คือ หนี้ที่มีกำหนดเวลาใช้คืนตั้งแต่ 1-5 ปี รัฐบาลจะออก Treasury note มาเป็นหลักฐานในการกู้
1.3. หนี้ระยะยาว (Long term) คือ หนี้ที่มีกำหนดระยะเวลาใช้คืนตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป รัฐบาลจะออกตราสารประเภทพันธบัตรรัฐบาลออกมา โดยกำหนดจำนวนเงิน ระยะเวลาใช้คืน และดอกเบี้ย ส่วนใหญ่จะเป็นการกู้เพื่อนำไปใช้ในโครงการระยะยาว เช่น การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค เช่น สร้างถนน สร้างสะพานข้าม
แม่น้ำ
2. แบ่งตามแหล่งของเงินกู้ 2.1. หนี้ภายในประเทศ รัฐบาลจะกู้เงินจากประชาชนทั่วไป ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง และสถาบันการเงินอื่นๆ ภายในประเทศ เงินที่กู้ยืมอาจจะเป็นเงินตราของประเทศหรือเงินตราต่างประเทศก็ได้
2.2. หนี้ภายนอกประเทศ รัฐบาลจะกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ ทั้งเอกชน รัฐบาล หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (The Asian Development Bank) หรือกู้จากธนาคารโลก (World Bank) หรือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International M
onetary Fund) เป็นต้น
ท่านสามารถคลิกที่Link ด้านล่างนี้เพื่อดู "แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2556"
http://www.pdmo.go.th/upload/plan_pdf/plan_09012013110226.pdf 




