ชื่อเรื่องวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม
โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ผู้วิจัย นางสาวบุญเพิ่ม สอนภักดี
ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ทำวิจัย 2553 - 2554
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ และดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากการสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา/รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานวิชาการ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่งานวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมโรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผู้บริหารและครูวิชาการ 24 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมโรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยมี กลุ่มตัวอย่าง นักเรียน จำนวน 412 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 412 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน บุคลากรจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมโรงเรียน เทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ PUKDEE MODEL และคู่มือประกอบการดำเนินการตามรูปแบบฯ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 11 ฉบับ คือ (1) แบบสัมภาษณ์ 7 ฉบับ (2) แบบสอบถาม 2 ฉบับ (3) แบบบันทึก 1ฉบับ และ (4) แบบสังเกต 1 ฉบับ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อสอบแต่ละข้อกับจุดประสงค์หรือเนื้อหา (Item Objective Congruence Index หรือ IOC) อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ คือ มากกว่า 0.5 ขึ้นไป และได้ค่าอัลฟาทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.709 – 0.965 สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4) การประเมินทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ประเมินความพึงพอใจ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ของผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คนผู้ปกครอง จำนวน 412 คนและนักเรียน จำนวน 412 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ที่ได้จากการวิเคราะห์ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ ครู และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน มี 6 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 Planning : P ขั้นการวางแผน ขั้นตอนที่ 2 undertaking : U ขั้นการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 3 Knowledge : K ขั้นการพัฒนาโดยการให้ความรู้ ขั้นตอนที่ 4 Design And Development : D ขั้นการออกแบบและพัฒนากิจกรรมขั้นตอนที่ 5 Enhancement : E ขั้นการส่งเสริม เพิ่มประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 6 Evaluation : E ขั้นประเมินผล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ที่สร้างขึ้น ที่มีชื่อเรียกว่า PUKDEE MODELประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Planning : P ขั้นการวางแผน ขั้นตอนที่ 2 Undertaking : U ขั้นการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 3 Knowledge : K ขั้นการพัฒนาโดยการให้ความรู้ ขั้นตอนที่ 4 Design And Development : D ขั้นการออกแบบและพัฒนากิจกรรมขั้นตอนที่ 5 Enhancement : E ขั้นการส่งเสริม เพิ่มประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 6 Evaluation : E ขั้นประเมินผล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รายละเอียดปรากฏในคู่มือการดำเนินการซึ่งผลการประเมินพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมาก โดยมีผลการดำเนินงานรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 2) ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ มีการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ของโรงเรียนได้ระดับมาก 3) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ผลปรากฏว่าครูทำการประเมินผลตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 4) ด้านการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคมและท้องถิ่น สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน อยู่ในระดับมาก 5) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนได้สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 6) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก 7) ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการพัฒนาครูผู้สอนหลายรูปแบบ หลายวิธีการและต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน พบว่ามีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการเป็นทีม โดยใช้รูปแบบการบริหารวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ รวม 7 ด้าน เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก