หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: Loksopha โลกโสภา พาเที่ยว เกาะเต่า เกาะพงัน เกาะสมุย สำรวจเรือจม สีสันสรรแห่งอ่าวไทย  (อ่าน 505 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 13:50 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคน กลุ่มหนึ่ง ที่รักการท่องเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ ทั้งโลกบนบก โลกใต้น้ำ ซึ่งมีแนวความคิดที่ไม่ธรรมดามุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดความรู้ แชร์ประสบการณ์ความแปลกและน่าพิศวงที่ธรรมชาติสรรค์สร้างขึ้นมา ร่วมค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวบนโลกใบนี้ไปกับพวกเรากลุ่ม “โลกโสภา” และสามารถติดตามเราได้ทาง Facebook นะครับ Facebook/Loksopha

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 13:51 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เมื่อปีที่แล้วเราได้มาที่นี้แล้วได้พบกับฉลามวาฬ และ Bull Shark ถึง 5 ตัวด้วยกัน เราจึงเลือกเวลาเดียวกันนี้ของปี เพื่อกลับมาเยือนอีกครั้งหนึ่ง ไม่รอช้าการเดินทางจึงเริ่มต้นขึ้น เราใช้เรือ วีนัส ในการเดินทาง เรือวีนัสเป็นเรือ Live aboard มีทั้งหมด สามชั้น รวมดาดฟ้าเรือ ห้องนอน ทั้งหมด 13 ห้องโดยแบ่งเป็น 9 Twin, 2 Bulk, 2 Double มีเครื่องปรับอากาศทุกห้อง ห้องน้ำ 6 ห้อง (Shared Bathroom) มีน้ำอุ่น/ร้อน มีผ้าเช็ดตัวบริการ มีห้องนั่งเล่น มี TV และ Stereo เรียกได้ว่าสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และที่สำคัญกว่านั้น คือบริการของลูกเรือวีนัสที่น่าประทับใจจนทำให้เราเรียกใช้บริการของวีนัสเสมอๆ ทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 13:54 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

Dive site แรกของเรา คือ “เรือหลวงปราบ” เรามารู้จักประวัติของเรือกันสักหน่อยนะครับ เรือหลวงปราบ741 เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดเล็ก มีความยาว 48.46 เมตร สูง 16.90 เมตร (กว้างประมาณ 8 เมตร) เดิมชื่อเรือ USS LCI (M) - 670 เป็นเรือที่กองทัพสหรัฐสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2487 ที่รัฐแมซซาชูเสท เคยเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจสำคัญ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 15 ส.ค.-16 ก.ย. 2487 เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกาได้มอบเรือลำนี้แก่ไทยในปีพ.ศ.2489 และเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ได้เข้าประจำการ และรับพระราชทานชื่อว่า “เรือหลวงปราบ” สังกัดกองเรือยกพลขึ้นบก กองเรือยุทธการ "ร.ล. ปราบ 741" ได้ถูกปลดประจำการเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 หลังจากได้รับใช้ชาติเกือบ 50 ปี จากนั้นกองทัพเรือมิได้นำเรือลำนี้มาใช้ประโยชน์อะไร ในด้านการรบ แต่ได้นำมาใช้เป็น "เรือครู" เพื่อฝึกกำลังพลของกองทัพเรือ และต่อมาคณะกรรมการโครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ท้องทะเล ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช...กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง...กรมประมง...ชมรมดำน้ำจังหวัดชุมพร...บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ ปตท.สผ...และ จังหวัดชุมพร ได้ร่วมประชุมกัน ที่ประชุมได้มีมติขอรับการสนับสนุน "ร.ล. ปราบ 741" มาวางเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ท้องทะเลชุมพร อีกทั้งยังจะใช้เป็นปะการังเทียม ที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และยังเป็นการสร้างแหล่งดำน้ำแห่งใหม่เพื่อเพิ่มความ หลากหลายให้กับ แหล่งท่องเที่ยวของอ่าวไทย เรือหลวงปราบ ได้ทำการจมลงเมื่อ วันที่ 20 พฤษภาคม 2554 และจมลงจนมิดลำเมื่อเวลา 9.59 น. Facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 13:55 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
Facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 13:57 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
Facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:00 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:03 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เรามาจอดเรือ พักทานข้าวกลางวันกันบริเวณอ่าวลึกของเกาะเต่า เพราะคลื่นลมตรงจุดนี้ค่อนข้างสงบและบริเวณนี้ยังมีจุดสำหรับดำน้ำแบบ snorkeling บริเวณหลังแนวทุ่นเหลือง จึงไม่น่าแปลกใจนักที่จะมีเรือมาส่งนักท่องเที่ยวดำน้ำกันอย่างไม่ขาดสาย เพราะตรงจุดนี้ถือเป็นจุดที่ขึ้นชื่อของเกาะเต่าที่เดียวครับ และยังเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการดำน้ำแบบ Scuba สำหรับนักดำน้ำ Scuba มือใหม่เพราะระดับความลึกไม่มาก เพียง 5 – 10 เมตรเท่านั้น
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:07 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

Dive site ถัดมาของเราคือ กองหินวง ที่ได้ชื่อนี้เพราะอยู่ใกล้ๆกันกับอ่าวหินวง เป็นอ่าวที่มีปลายแหลมทั้ง 2 ข้างโค้งเข้าหากัน อ่าวนี้จะไม่มีหาดทราย จะมีหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่เรียงรายทับซ้อนกันจนได้ชื่อว่า "อ่าวหินวง"
ภาพไหที่มี Pink Soft coral ขึ้นอย่างที่เห็นไม่ใช่ไหโบราณอะไรนะครับ แต่เป็นไหที่ใส่ดินปืนเพื่อทำการระเบิดปลา ปัจจุบันชาวประมงพื้นบ้านเลิกวิธีการหาปลาด้วยวิธีระเบิดปลา ต้องขอขอบคุณหน่วยงานของรัฐที่เข้ามาให้ความรู้ความเข้าใจกับชาวประมงพื้นบ้าน เพราะการหาปลาด้วยวิธีระเบิดปลานับเป็นการทำลายระบบนิเวศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะปะการัง ซึ่งเป็นที่เพราะขยายพันธ์ หรือหากินของปลาวัยอ่อนก่อนที่จะถึงวัยโตเต็มตัวต่อไป
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ภาพบน แซ่ทะเล หรือ หวายทะเล ทั้งสองชนิดจะมีความคล้ายคลึงกันมากทางกายภาพ แต่จะมีส่วนที่แตกต่างกันก็คือ แซ่ทะเล จะมีความอ่อนนุ่มกว่า ส่วนหวายทะเลนั้นจะมีผิวที่แข็งกว่าจึงเรียกว่าหวายทะเล
ภาพล่าง ปลาผีเสื้อเหลืองชุมพร เป็นปลาผีเสือที่พบได้ทางฝั่งอ่าวไทย และสามารถพบได้ชุกชมที่บริเวณทะเลแถบชุมพร จึงเป็นที่มาของชื่อ “ผีเสื้อเหลืองชุมพร” ส่วนใหญ่มักจะอยู่กันเป็นคู่แค่สองตัว มีไม่บ่อยครั้งนักที่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่แบบนี้
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:12 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

หวีทะเล เป็นกัลปังหาชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายหวี จึงเป็นที่มาของชื่อ ชอบอยู่ในที่ที่มีกระแสน้ำค่อนข้างแรง หรือไหลตลอดเวลา เพื่อดักจับอาหาร ที่ลอยมาตามกระแสน้ำ ที่เป็นเช่นนี้เพราะกัลปังหาเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่จะมีอวัยวะที่เรียกว่า โพลิป ทำหน้าที่เป็นเสมือนแขนและปากคอยดักจับพวกแพลงก์ตอนที่ลอยมากับกระแสน้ำ
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #11 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:13 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ทากทะเล เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา เช่นเดียวกับหอย และหมึก จัดอยู่ในชั้นหอยฝาเดียว ในอันดับย่อย Nudibranchia
ทากทะเล มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีเปลือกห่อหุ้มลำตัว เพราะเปลือกลดรูปจนมีขนาดเล็กคลุมตัวไม่มิด หรือไม่มีเปลือกเลย ทากทะเลส่วนใหญ่มีสีสวยสดงดงาม บางชนิดมีหลายสีบนตัวเดียวกัน และสามารถปรับสีของตัวให้เข้ากับสภาพของแหล่งอาศัย สีที่ฉูดฉาดของทากทะเลทำให้สัตว์อื่นหลีกเลี่ยงที่จะกินเป็นอาหาร เพราะทากทะเลจะสร้างสารเคมีที่เป็นพิษสะสมไว้ตามผิว เพื่อป้องกันตัว
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #12 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:15 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ปลาการ์ตูนอานม้า นับว่าเป็นปลาการ์ตูนที่มีความหลากหลายทางสีสันและลวดลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยบางตัวอาจมีลายสองแถบ หรือสามแถบ สีสันมีตั้งแต่สีดำตลอดทั้งลำตัว หรือบางตัว มีเฉพาะส่วนปากเท่านั้นที่มีสีส้ม ลำตัวสีดำ ส่วนปากและท้องเป็นสีส้ม ไปจนถึงบางตัวที่มีสีส้มตั้งแต่ปาก, ท้อง และลำตัว มากกว่าพื้นที่สีดำบนลำตัว และขณะที่บางตัวอาจมีลายอานม้าเพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของลำตัว แต่บางตัวมีลายอานม้าพาดยาวไปจนสุดด้านล่างของลำตัว เป็นต้น ส่วนปลาที่พบในเขตน่านน้ำไทยมักมีลายแถบสามแถบครึ่งลำตัว และมีลำตัวสีดำตลอดทั้งลำตัว และเป็นปลาที่ค่อนข้างดุ มีอาณาเขตของตัวเองและห่วงอาณาเขตมาก(คือบริเวณที่มีแอนนีโมที่อาศัยอยู่) อย่างเจ้าอานม้าตัวนี้ กว่าทางทีมงานจะเก็บภาพสวยๆมากฝาก เรียกได้ว่าต้องมีการต่อสู้กันเล็กน้อย โดยเฉพาะเจ้าอานม้าตัวนี้คงจะคุ้นเคยกับนักดำน้ำเป็นอย่างดี จึงรู้ว่าถ้ากัดที่ Wetsuit จะไม่เจ็บ มันจึงเลือกกัดบริเวณที่เป็นผิวหนังของเราเช่นนิ้ว หรือถ้าเราใส่ถุงมือก็จะเลือกกัดที่ ใบหน้าของเราแทน แหมมม.. มันช่างแสนรู้จริงๆ
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #13 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:17 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

Dive ถัดมาของเราคือ กองหินชุมพร เป็นจุดที่เราสามารถพบปลาเป็นฝูงใหญ่ได้มากมาย รวมทั้งปลาใหญ่จะพวกปลาเก๋าหรือปลาหมอทะเล และเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถพบฉลามวาฬได้บ่อยครั้ง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เราไม่ได้พบเจอกับฉลามวาฬในทริปนี้ แต่ก็มีข่าวดีในวันรุ่งขึ้นว่ามีคณะอื่นพบฉลามวาฬที่กองหินชุมพรนี้ในช่วงเช้าของอีกวัน ยินดีกับคณะดังกล่าวด้วยนะครับ
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #14 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:17 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #15 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #16 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:20 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ปลาการ์ตูนอินเดียแดง ก็เหมือนกับปลาการ์ตูนชนิดอื่นที่เป็นกะเทยแบบเปลี่ยนเพศได้ อาศัยภายในดอกไม้ทะเลประกอบด้วยคู่ผสมพันธุ์ซึ่งเป็นตัวเมียที่ใหญ่ที่สุดและตัวผู้ซึ่งเป็นคู่ จะมีขนาดเล็กกว่ากำลังเผ้าไข่ของมัน ซึ่งมันจะวางไข่ของมันไว้ใต้บ้านของมันซึ่งก็คือแอนนีโมนก้นม่วง ไข่จะได้รับการปกป้องทั้งจากแอนนีโมนและพ่อแม่ของปลาการ์ตูนจะดูแลไข่ในระหว่างการฟัก ส่วนใหญ่ตัวผู้จะรับหน้าที่เป็นผู้ดูแล ไข่จะใช้เวลาการฟัก7วัน แต่ในช่วงอากาศหนาวจะใช้เวลา 8-9วัน แต่ในช่วงอากาศร้อนใช้เวลา6วัน การสังเกตว่าลูกปลาจะฟัก ให้วังเกตุที่ตาของลูกปลาที่อยู่ในถุงไข่จะกลายเป็นสีเงินและสะท้อนแสง ลูกปลาจะฟักในช่วงหัวค่ำ1-2ชม. หลังจากมืดสนิท
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #17 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เรือหลวงสัตกูดเป็นเรือยกพลขนาดเล็ก เดิมชื่อ USS LCI(L)-670 สามารถบรรจุกำลังพลรวมทั้งสิ้น 62 นาย เรือหลวงสัตกูดเป็นเรือรบระดับสามดาว เข้าปฎิบัติภารกิจสำคัญ 3 ครั้ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ การรบหมู่เกาะปาเลา สมรภูมิเกาะอิโมจิว่า และสมรภูมิเกาะอิโกนาวา จากนั้นสหรัฐอเมริกาจึงได้ส่งมอบเรือลำนี้ให้กับประเทศไทยเมื่อปี 2490 โดยได้รับพระราชทานชื่อสัตกูด742 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สังกัดอยู่ในกองทัพเรือยกพลขึ้นบก กองเรือยุทธการ เรือหลวงสัตกูดปลดระวางเมื่อปี พ.ศ. 2550 และได้จมลง ในวันที่ 18 มิถุนายน 2554 ด้วยเหตุผลเดียวกันกับเรือหลวงปราบ
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #18 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #19 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #20 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #21 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:25 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #22 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:26 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #23 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:27 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

หินใบเป็นจุดดำน้ำ ที่ขึ้นชื่ออีกจุดหนึ่ง อยู่ใกล้กับเกาะพงัน และอยู่ห่างจากกองหินชุมพร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง และจุดนี้เป็นจุดที่จะสามารถพบเจอฝูงปลามากมาย ทั้งฉลามวาฬและ Bull Shark ได้ รวมทั้งมีโพรงถ้ำใต้น้ำให้ชมด้วย
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #24 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:28 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #25 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:29 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #26 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:30 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #27 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:31 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #28 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:32 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #29 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #30 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #31 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:35 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

Night dive เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการดำน้ำ เพราะเราจะสามารถพบเจอกับสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน ซึ่งเราจะไม่สามารถพบตัวได้ในเวลากลางวัน หรือพฤติกรรมของปลาขณะหลับหรือหลบอยู่ตามซอกหินต่างๆก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเวลากลางวัน อย่างเช่นปลาม้าลายจะมีสีที่ซีดลงจากปกติ หรือปลาบางชนิดเช่นปลาพยาบาลบางครั้งก็จะปล่อยเมือกออกมาคลุมตัวเองไว้ลักษณะเป็นเหมือนกับถุงนอน ปะการังอย่างเช่น ปะการังมันสมองก็จะปล่อยเนื้อเยื่อและโพลิปออกมามากกว่าตอนกลางวัน
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #32 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:36 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #33 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:37 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #34 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:39 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
facebook/loksopha


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #35 เมื่อ: 7 ส.ค. 13, 14:40 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ในทริปนี้ ถึงแม้นโลกโสภาจะไม่ได้เจอฉลามวาฬ และ Bull Shark ตามที่เราคาดหวังไว้ แต่เราก็ยังได้พบความอุดมสมบูรณ์ของฝูงปลาหลากหลายชนิด คงเป็นเพราะโครงการปะการังเทียมต่างๆของที่นี่ เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรของเราให้มีคงอยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน ยิ่งถ้าพวกเราช่วยกันคนละไม้คนละมือ เราไม่จำเป็นต้องไปลงมือปลูกปะการังด้วยตัวของเราเอง เพียงแต่เราไม่ทิ้งขยะต่างๆลงไปในท้องทะเลก็เป็นการช่วยรักษาท้องทะเลของเราง่ายๆด้วยตัวเราเองแล้ว ตัวอย่างง่ายๆแม้นแต่แค่ก้นบุหรี่เพียงก้นเดียว ก็ต้องใช้เวลาถึง 17 ปี ในการย่อยสลาย และมันจะลอยอยู่ในน้ำทะเล สัตว์บางจำพวกเช่นเต่าหรือปลาบางชนิดอาจจะกินเข้าไปและอาจจะทำให้มันตายได้ เห็นไมครับง่ายๆแค่นี้เราก็สามารถช่วยรักษาธรรมชาติให้อยู่กับเราไปอีกนานเท่านาน
facebook/loksopha



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  ท่องเที่ยว 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม