กาญจนา อนุเพชร : ผลของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach)โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนสหวิทยาคม
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) ให้มีประสิทธิ ภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนสหวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบ
ผลงานทางวิชาการ : นางกาญจนา อนุเพชร
โครงการ (Project Approach) ประชากร คือ นักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 1 โรงเรียนสหวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) 2. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 20 ข้อ
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) หน่วย กล้วย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 95.56 / 90.33
2. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) หน่วย ทุ่งนา มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 92.31 / 87.67
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) หน่วย กล้วย มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานในการวิจัย
4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) หน่วย ทุ่งนา มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานในการวิจัย