เขียน
บทความ ยาวๆ ไม่ดีจริงหรือ ?
“อย่าไป เขียนบทความ ยาวๆ เลย ไม่มีใครอ่านหรอก เอาสั้นๆ แค่ใส่ Key word ได้สักหน่อยก็พอแล้ว” นี่เป็นคำที่ผมได้ยินอยู่บ่อยครั้ง… และเขาให้เหตุผลที่ฟังแล้วเป็น ตลกร้าย ว่า “แหม… ก็คนไทยอ่านหนังสือแค่ปีละ 8 บรรทัด เขียนยาวไปเขาก็ไม่อ่านกันหรอก !” เรื่องนี้…. มัน…
ไม่รู้ว่า… มีใครรู้สึกเจ็บปวดเหมือนผมบ้างหรือไม่ เวลาที่ได้ยินคนเขาพูดว่า “คนไทยอ่านหนังสือปีละไม่เกิน 8 บรรทัด !” แต่… เรื่องนี้ขอบอกตรงๆ ว่า “ผม… ไม่เชื่อ !” ไม่ได้พูดในฐานะที่ตัวเองเป็นคนชอบอ่านหนังสือ และมีหนังสือสะสมอยู่มากว่า 3,000 เล่ม ! (แต่ก็ไม่ได้อ่านจนจบหมดทุกเล่มนะ อิ อิ) และ… ไม่เพียงไม่เชื่อ ผมยังคิดว่า คนไทยทุกวันนี้อ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่าอีกด้วย ! เพราะหากเรานับว่าการอ่านตัวหนังสือทุกชนิดคือการอ่าน (ตัว)หนังสือ เชื่อว่าในแต่ละวันคนไทยเราอ่านอะไรต่อมิอะไรเข้าไปมากมาย ตั้งแต่ป้ายข้างทาง ฉลากข้างขวด ถุงกล้วยแขก หนังสือพิมพ์ หนังสือเรียน และ… ที่ขาดไม่ได้ อ่านข้อมูลสรรพเพเหระทาง internet ! คำว่า “สังคมก้มหน้า” นั้นไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ! คำนี้ถึงแม้จะเป็นคำเชิงประชดประชัน แต่ผมมั่นใจว่าตลอดเวลาที่คนเราก้มหน้าลงเพื่อดูหน้าจอนั้น เราก็ได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านการอ่านเข้าไปอยู่เสมอ หากจะบอกว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลง ผมจึง… ไม่เชื่อ ! และไม่ยอมเชื่ออย่างเด็ดขาด !! ดังนั้นประเด็นสร้างหรือ เขียนบทความสั้นไว้ก่อน ผมจึงไม่เห็นด้วย คนยังพร้อมที่จะอ่านอยู่เสมอและมีแนวโน้มนิยมการอ่านเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก
แต่… สำหรับเรื่องเนื้อหาของ บทความ หรือ บทความ SEO ที่เราทำเพื่อส่งเสริมอันดับการถูกค้นหาของ website นี่มันเป็นอีกเรื่อง ที่ต้องคิด… ไม่ใช่เพราะผมคิดว่าการเขียนบทความยาวไม่ดีสำหรับ SEO แต่มันเกี่ยวกับคนที่เขาจ้างให้เขียน ! หากเขาอยากได้สั้นๆ เราก็ต้องทำตามนั้น และผมเชื่อว่านักเขียนจำนวนไม่น้อยก็ชอบด้วย เพราะมันง่ายดี ! เขียนแปบๆ ก็เสร็จแล้ว และผู้จ้างก็อาจจะชอบ เพราะคิดว่าได้บทความที่มี key word เหมือนกัน แต่มีราคาถูกกว่า ก็น่าจะพอใช้ได้แล้ว… แถมยังได้ปริมาณจำนวนบทความที่เยอะดีอีกด้วย ทำให้ website ดูมีอะไรแยะๆ
ในฐานะคนทำงานด้าน การเขียนมานานหลายปี มีโอกาสทำการตลาด และ รับเขียนบทความ มาก็มาก ผมอยากจะบอกความจริงให้ได้ทราบกันว่า… บทความที่ยาวกว่านั้นย่อม ดีกว่า !! ไม่ใช่เพราะทำให้คนเขียนอย่างผมได้เงินเยอะขึ้น แต่มันดีกับทุกๆ คน… ผมจะวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อๆ ให้ได้ดูกันแล้วขอให้ลองพิจารณาดูนะครับ
เขียนบทความ ยาวๆ ดีอย่างไร
1. ดีต่อผู้สนใจเข้ามาอ่าน ทำไมน่ะหรือ ก็เพราะว่า ส่วนใหญการที่เขาค้นหาข้อมูลจากทาง internet ก็เป็นเพราะเขากำลังมีปัญหา และต้องการคำตอบ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หากมีคำตอบที่ละเอียด ให้ข้อมูลแน่น ได้เนื้อหาสาระ เขาจะไม่ชอบหรือ ? มันจะไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของเขามากกว่าหรือ ?
2. ดีต่อเจ้าของ website เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วบทความที่ยาวกว่า เป็นที่ชื่นชอบของ robot จากบรรดา Search Engine เพราะ… มันมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ! นอกนึกดูสิครับ ว่าจะมีกี่คนที่เขียนบทความในแนวเดียวกันกับเรา ในเนื้อหาเรื่องราวทำนองเดียวกัน คงไม่ใช่มีแต่เราคนเดียวหรอกที่มีเรื่องนี้ และถ้าหากว่ามันมีความยาวเพียงแค่ 200-300 คำ มันง่ายเหลือเกิน ที่จะเกิดความคล้ายกันจนดูเป็นซ้ำ ความแตกต่างที่น้อยนี่แหละที่ robot มันไม่ชอบ มันจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ เมื่อเป็นแบบนั้น เจ้าของ website ที่ใช้บทความมากๆ แต่ สั้นๆ เน้นปริมาณจำนวนของบทความ แน่นอนว่า… คุณกำลังจ่ายเงินเพื่อซื้อของที่ดูเหมือนๆ กันไปหมด เพื่อนำมาโชว์ต่อ robot ของบรรดา Search Engine ทั้งหลาย ซึ่ง… น่าเสียดายเพราะมันเท่ากับไม่ได้อะไรมาก แถมมันยังให้ผลที่น้อยกว่า ต่อความรู้สึกของผู้ที่เข้ามาอ่านด้วย เพราะพวกเขาต้องการข้อมูลเขาจึงเข้ามาอ่าน หากมีข้อมูลเพียงเล็กน้อย เหมือนกับที่หาอ่านที่อื่นได้ website ของคุณจะน่าสนใจตรงไหน ?
3. ดีต่อนักเขียน เพราะทำรายได้มากขึ้น แต่… ก็ไม่ใช่ทุกคนหรอกที่ชอบ เพราะการเขียนบทความยาวๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องอาศัยความชำนาญความรู้และข้อมูลที่มากพอสมควร อีกทั้งใช้เวลามากกว่าด้วยกว่าจะเสร็จบทความหนึ่งๆ
ทั้งหมดนี่เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการ เขียนบทความ ว่ามันดีกว่าอย่างไร เมื่อเขียนออกมาให้มันยาวขึ้น แต่หากถามว่าความยาวเท่าไหร่จึงจะเหมาะ ก็ขอบอกว่ายิ่งยาวก็ยิ่งดี แต่หากจะเอาแบบที่ว่าใช้ได้ robot ชอบ และไม่ต้องกลัวว่าคนอ่านจะเบื่อก็ประมาณ 500 – 600 คำ ต่อบทความ ก็ถือว่าใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว แต่ก็ต้องไม่ลืมเรื่องคุณภาพและความใส่ใจของนักเขียนผู้ผลิตงานด้วย มันจึงจะได้ผลดีที่สุด ต่อทั้งผู้อ่าน และ robot ของ Search Engine (***หมายเหตุ หากคุณอ่านมาจนถึงตอนจบนี้ได้ ก็แปลว่าบทความที่ยาวไม่ได้น่าเบื่อและไม่น่าสนใจอย่างที่คิดหรอก จริงไหม ??)
ขอบคุณบทความจาก : https://wewrite4you.wordpress.com/2015/04/03/content-001/