ช่วงรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวดีในแวดวงธุรกิจบ้านเรา เกี่ยวกับผลการจัดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ หรือ DJSI (Dow Jones Sustainability Indices ) DJSI ออกมา โดยดัชนีดังกล่าวได้รับความสนใจในวงการธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นดัชนีระดับโลกดัชนีแรกที่ใช้วัดประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีบริษัทชั้นนำทั่วโลกกว่า 2,500 เข้าร่วมการจัดอับดับ ซึ่งเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนี DJSI ถือได้ว่าเป็น
งานหินสำหรับองค์กรแต่ละแห่ง ที่จะต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่ทาง DJSI ได้กำหนดเอาไว้ โดยจะพิจารณาจากการวิเคราะห์การดำเนินการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใน 3 หมวด คือ ความมั่นคงทางธุรกิจ การให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ การใส่ใจต่อสังคมและชุมชน
กองทุนการเงินต่าง ๆ ทั่วโลก ใช้ดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ เป็นเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาอนุมัติการลงทุนกับบริษัทหรือองค์กรนั้น ๆ เพราะเชื่อมั่นได้ว่าบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน DJSI จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยเหตุนี้บริษัทในตลาดทุนหลายแห่งทั่วโลก จึงพยายามผลักดันให้องค์กรตนเองได้รับคัดเลือกติดอันดับ DJSI ในแต่ละปี โดยบริษัทที่ได้รับพิจารณาให้เข้าร่วมในการคำนวนดัชนีในแต่ละปี จะต้องตอบแบบสอบถามในหัวข้อต่างๆที่จะแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายและการวางแผนระยะยาวของบริษัทต่อการสร้างความเข็มแข็งด้านผลประกอบการทางธุรกิจ การให้ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนช่วยเหลือสังคมชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ดัชนี DJSI แบ่งการวัดความยั่งยืนของบริษัทในอุตสาหกรรมที่ต่างกัน ด้วยชุดตัววัดที่แตกต่างกันไปตามลักษณะและธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจ โดยปัจจุบันได้พัฒนาตัวชี้วัดวัดสำหรับธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆรวม 58 ประเภทอุตสาหกรรม และยังแบ่งออกเป็นดัชนีตามภูมิภาค เช่น ดัชนีสำหรับยุโรป อเมริกาเหนือ กุล่มประเทศนอร์ดิก เอเชียแปซิฟิก ออสเตรเลีย เป็นต้น โดยมีดัชนีกลางเรียกว่า DJSI World และขยายออกไปเป็นดัชนีสำหรับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (Emerginng Countries) ด้วยชุดตัววัดที่แตกต่างกัน
ในปี 2558 ประเทศไทย มีกลุ่มบริษัทที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI ทั้งในกลุ่มดัชนี DJSI World และกลุ่มดัชนี DJSI Emerging Markets ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกมากที่สุดในอาเซียน โดยมีบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 3 บริษัท คือ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) และ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)
ในสายอุตสาหกรรมการผลิตอาหารครบวงจร บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) เป็นบริษัทที่ได้รับ
คะแนนในการการทำแบบสอบถามครั้งแรก ในหัวข้อต่างๆเกินกว่ามาตราฐานทั้งหมด อีกทั้งยังได้รับการคัดเลือกเร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้จากเดิม ที่คาดว่าจะได้รับการคัดเลือกในปี พศ. 2561 เร็วกว่ากำหนดถึง 3 ปี การได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนี DJSI World ของ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ถือเป็นบริษัทไทยรายที่ 2 ต่อจากกลุ่มบริษัท SCG ที่สามารถเข้าสู่ดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของดาวโจนส์ หรือ DJSI ได้เป็นผลสำเร็จ นั่นแสดงถึงการได้รับความเชื่อถือจากตลาดทุนทั่วโลกที่ครอบคลุมทุกมิติ ถือเป็นยกระดับแบรนด์ CPF ให้เป็นแบรนด์ระดับโลกภายใต้สายการผลิตของประเทศไทย
มาตรฐานและกฎระเบียบต่างๆทางการค้า อาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับฐานะผู้บริโภคอย่างเรา แต่สำหรับภาคธุรกิจนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นตัววัดระดับการบริหารจัดการภายในขององค์กรซึ่งเป็นตัวดึงดูดการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการส่วนที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในระยะยาวอีกด้วย.
ที่มา :http://www.platuannum.com/?p=151