ภาษีการให้ภาษีการรับมรดกและ ภาษีกองมรดก(ฉบับย่อ)
ตามที่มีกฎหมายออกใหม่ให้มีการจัดเก็บภาษีจากการรับมรดก และจากการรับให้โดยให้อยู่ในอํานาจของกรมสรรพากรเป็นผู้มีหน้าที่จัดเก็บนั้น หลายๆท่านที่ติดตามข่าว อาจยังสงสัยว่าสรุปแล้วเป็นภาษีอะไรกันแน่ เพราะที่ผ่านมามีการพูดถึงภาษีมรดกภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือแม้กระทั่งภาษีการให้ แต่พอกฎหมายออกมาชื่อกฎหมายดูเปลี่ยนไปเรื่องนี้ ผู้เขียนขอแสดง
ความกระจ่างให้กับผู้สนใจดังนี้
ก่อนอื่นควรทราบว่าภาษีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มี 3 ประเภทซึ่งเป็นภาษีใหม่ 2 ประเภทและภาษีเก่ามี1 ประเภทคือ
1. ภาษีการให้ (Gift Tax) = ภาษีใหม่ บังคับจัดเก็บโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่40 พ.ศ. 2558
2. ภาษีการรับมรดก ( Inheritance Tax) = ภาษีใหม่จัดเก็บโดยออกกฎหมายใหม่มาเลยเรียกว่าพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558
3. ภาษีกองมรดก (Estate Tax ) = ภาษีเก่า จัดเก็บตามกฎหมายภาษีสรรพากร ที่เรียกว่าประมวลรัษฎากร
หลักการจัดเก็บภาษีแต่ละตัว คือ
ภาษีการให้(Gift Tax) จัดเก็บกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินโอนเงินได้หรือทรัพย์สินให้กับบุคคลอื่นขณะที่ตนเองยังมีชีวิตอยู่ ขอย้ำว่ายังมีชีวิตอยู่ เพราะถ้าเสียชีวิตแล้วไม่ถือว่าเป็นการให้
ฐานภาษีที่ต้องเสียภาษี(Tax Base)คือ มูลค่าของเงินได้ส่วนที่เกิน 20ล้านบาท ตลอดปีภาษีนั้น เน้นเฉพาะส่วนที่เกิน 20ล้านเป็นต้นไป ส่วนที่ไม่เกิน 20ล้าน ยกเว้นภาษีและผู้มีเงินได้หรือผู้เสียภาษี(ผู้รับจากการให้)
มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ของส่วนที่เกิน 20ล้านบาทโดยไม่ต้องนําไปรวมคํานวณ กับเงินได้อย่างอื่นในปีภาษีนั้น หรือจะนําไปรวมกับเงินได้อย่างอื่นเพื่อคํานวณภาษีตามปกติก็ได้ สรุปก็คือกฎหมายให้สิทธิเลือกวิธีการยื่นแบบการคํานวณการเสียภาษีกรณียกเว้น 20ล้านบาท ทําได้เฉพาะผู้มีเงินได้หรือผู้รับ ที่เป็น บุพการีคู่สมรส หรือผู้สืบสันดานเท่านั้น
แต่กรณีผู้มีเงินได้หรือผู้รับ ที่ได้รับการอุปการะหรือการให้โดยเสน่หาฯ เป็นบุคคลที่มิใช่บุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส การยกเว้นให้นี้จะเหลือเพียง 10ล้านบาท ซึ่งผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของเงินได้ส่วนที่เกิน10ล้านบาทโดยไม่ต้องนําไปรวมคํานวณกับเงินได้อย่างอื่นในปีภาษีนั้น เช่นเดียวกัน
ภาษีการรับมรดก(Inheritance Tax) จัดเก็บจากมูลค่าของทรัพย์มรดกตามประเภทที่กฎหมายกําหนด ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน โรงเรือน , หลักทรัพย์, เงินฝาก,ยานพาหนะ,และอื่นๆ (ตามที่กฎหมายจะประกาศออกมาทีหลัง) ภาษีนี้จัดเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดก ในตอนที่เจ้าของทรัพย์สิน (เจ้ามรดก)เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งต่างกับภาษีการให้ตรงที่เจ้าของทรัพย์สินยังมีชีวิตอยู่
ฐานภาษี(Tax Base) ที่ต้องเสียคือ มูลค่ามรดก ที่ได้รับ ส่วนที่เกิน 100ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ10ของมูลค่ามรดก แต่ถ้าผู้รับมรดกเป็นบุพการีผู้สืบสันดาน อัตราภาษีร้อยละ5
ภาษีกองมรดก(Estate Tax) จัดเก็บจากเงินได้ของกองมรดกในขณะที่มรดกยังไม่ได้แบ่งคือเจ้าของทรัพย์เสียชีวิตแล้ว มีกองมรดกเหลืออยู่และในปีภาษีมีเงินได้เกิดจากกองมรดกนั้น ผู้จัดการมรดกที่ได้รับการ
แต่งตั้งเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษีวิธีการคํานวณภาษีเช่นเดียวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งสรรพากรจัดเก็บภาษีประเภทนี้มานานแล้ว
มาถึงตรงนี้ ท่านคงเข้าใจพอสมควรแล้วสําหรับกรณีภาษี 3 ประเภทนี้ ใครมีทรัพย์สินมากๆ อาจถึงเวลาที่ต้องคิดกันแล้วว่าจะบริหารจัดการทรัพย์สินของตนเองอย่างไร จะยกให้เลย หรือจะรอไว้แบ่งเป็นมรดก สําหรับภาษีใหม่ทั้ง 2 ประเภทนี้จะใช้บังคับ ภายใน180วัน นับแต่วันประกาศเมื่อนับวันแล้วก็จะตกอยู่ที่เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2559 ดังนั้น ขณะนี้ยังมีเวลาในการวางแผนภาษีล่วงหน้าก่อนถึงวันสําคัญ เราจึงขอแนะนําให้ท่าน Tax Planning แต่เนิ่นๆ ซึ่งอาจช่วยลดความตื่นเต้นให้ ได้ไม่มากก็น้อยกรณีสําหรับท่านที่เข้าข่ายกับเหตุการณ์นี้โดยตรง
สถาบันคัสเม่ KASME Co., Ltd.
www.kasmethai.com
Facebook: www.facebook.com/kasme.thai