จากที่เราเห็นกันในฟุตบอลเมืองนอก นักเตะหลายๆคนเซ็นสัญญาระยะยาว 4-5 ปีกับสโมสร ที่ไทยเป็นแบบนี้หรือเปล่าครับ ไม่ครับ ยาวสุดก็ 2-3 ปี มาตรฐานก็จะเป็น 1 ปี เพราะบางทีสโมสรก็ไม่มั่นใจเหมือนกันว่านักเตะคนนี้จะดีหรือเปล่า เซ็นสั้นไว้ก่อนดีกว่า ส่วนในอนาคต การเซ็นสัญญายาวๆ ผมคิดว่ามีอยู่แล้วครับ เพียงแต่ตอนนี้คนยังไม่เห็นประโยชน์ของการเซ็นสัญญาระยะยาว เพราะจริงๆแล้ว นักเตะเราก็สามารถขายได้ ไม่จำเป็นต้องเซ็นสั้นแล้วปล่อยฟรี เซ็นยาวก็ขายให้ทีมอื่น เอาเงินกลับเข้าสโมสรได้เหมือนกัน
อะไรคือคุณสมบัติสำคัญที่เอเจนท์นักฟุตบอลควรจะมีครับ สำหรับผม ความซื่อสัตย์มาเป็นอันดับแรก ผมซื่อสัตย์กับลูกค้าของผม ผมซื่อสัตย์กับ
งานของผม บริษัทเราอาจจะมีคอนเนคชันที่เป็นรองเอเจนท์เจ้าอื่นเยอะ แต่ด้วยจำนวนของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ก็หมายความว่า เค้ามั่นใจ และเชื่อใจ ในสิ่งที่เราทำอยู่ครับ
มองการเติบโตของเอเจนท์ในเมืองไทยเอาไว้อย่างไรครับ ก็เหมือนทุกธุรกิจนะครับ ก็จะมีเบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 แล้วก็จะมีรายย่อย ถ้ามามองในแง่ธุรกิจ แต่ละเจ้าก็จะมี positioning ในแง่ของสินค้าอยู่ หมายความว่าในอนาคต ก็อาจจะมีเอเจนท์เจ้าใหม่เกิดขึ้นมารองรับความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน แล้วก็จะมีคู่แข่ง หรือการมีคนทำธุรกิจแบบเดียวกันเยอะๆ ผลประโยชน์ก็จะตกไปอยู่ที่ลูกค้า เพราะลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น และสุดท้ายลูกค้าก็จะเป็นคนตัดสินเองว่าจะทำงานกับเอเจนท์เจ้าไหนด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไปนั่นเอง
ทำไมกฎระเบียบในการเป็นเอเจนท์ถึงเปลี่ยนไป แค่ลงทะเบียนก็เป็นได้แล้ว แบบนี้ใครก็เป็นเอเจนท์ได้หรือเปล่าครับ สาเหตุที่ FIFA เปลี่ยนคือระบบเก่ามันมีการคอร์รัปชั่นเยอะครับ เค้าก็เลยล้างระบบนี้ออกไป คนที่มีใบอนุญาตแบบเก่าอยู่ ก็ต้องไปลงทะเบียนเพื่อขอใบอนุญาตใหม่อีกรอบ ตอนนี้คนเป็นเอเจนท์ได้ง่ายกว่าเดิมเยอะ ใครก็เป็นเอเจนท์ได้ แต่อยากให้มองแบบนี้ว่า ถ้าลูกค้าจะเลือกใครสักคนมาทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ให้ คุณมีความรู้ในการทำงานแค่ไหน มีคุณภาพในการทำงานให้กับลูกค้ามากแค่ไหน อันนี้คือข้อแตกต่างครับ
ช่วงที่ผ่านมา
บริษัทมีข่าวพานักเตะไทยสองรายไปเล่นที่โปรตุเกส มันคือการบอกเป็นนัยๆหรือเปล่าว่า การพานักเตะไทยไปเล่นในลีกรองๆของต่างแดน ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องเหมาะสมครับ นักเตะไทยหลายๆรายก็อยากไปเล่นต่างแดน อย่างลีกระดับสามของโปรตุเกส ถามว่าดีกว่าลีกไทยมั้ย ก็ดีกว่าบางทีม นั่นคือโอกาสที่เราจัดการให้นักเตะ แต่ไม่ใช่จู่ๆจะข้ามไปเล่น
พรีเมียร์ลีกอังกฤษ อะไรแบบนี้ ถ้าเอเจนท์ที่เข้าใจความเป็นจริง จะรู้ว่านักเตะของเรายังไม่สามารถไปเล่นลีกใหญ่ๆในยุโรปได้ ตัดอังกฤษทิ้งไป ถ้าโปรตุเกสนี่ได้ เกาหลี ญี่ปุ่น ได้ แต่คงไม่ใช่ เจลีก เคลีก อาจจะต้องลดหลั่นกันไป แต่โอกาสมีครับ
From “Player Agents” to “Intermediaries” วันที่ 1 เมษายน 2015 เป็นต้นมา FIFA เปลี่ยนชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเอเจนท์จาก Player Agents เป็น Intermediaries และ ได้ออกข้อบังคับฉบับใหม่ที่ปรับปรุงความโปร่งใสเกี่ยวกับหน้าที่ของเอเจนท์ให้มากขึ้น เนื่องจากการสำรวจพบว่า ธุรกรรมการซื้อ-ขายผู้เล่นทั่วโลก มีเพียง 25-30% เท่านั้น ที่ทำผ่านเอเจนท์ที่มีใบอนุญาตถูกต้อง โดยใบอนุญาตจะออกโดยสมาคมฟุตบอลแต่ละประเทศที่กำกับโดย FIFA อีกที แต่ความเข้มงวดในการได้ใบอนุญาตกลับลดลง โดยไม่ต้องมีการสอบข้อเขียนเหมือนแต่ก่อน
อ่าน ตอนที่ 1 http://webboard.sport.sanook.com/forum/?topic=4365466อ่าน ตอนที่ 2 http://webboard.sport.sanook.com/forum/?topic=4365622อ้างอิงจาก Hattrick Magazine