ตลาดไอศกรีมตู้แช่หรือไอศกรีมระดับแมสในปีที่ผ่านมามี
มูลค่า 12,826 ล้านบาท ขยายตัวในระดับ 8% โดยวอลล์
เป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 70 % ขณะที่เนสท์เล่ตาม
อยู่ราว 15% จากปัจจัยของระดับการขยายตัวที่ดีและ
คู่แข่งขันมีน้อยรายส่งผลให้ บริษัท กูลิโกะ โฟรเซ่น
(ประเทศไทย) จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นในไทยและเป็นครั้งแรก
เพื่อนำผลิตภัณฑ์โพร์เซ่นต์ในเครือ”กูลิโกะ” ออกเจาะ
ตลาดนอกเกาะญี่ปุ่น
ส่องกลยุทธ์“กูลิโกะ ไอซ์”
กูลิโกะเป็นแบรนด์ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีโดยกูลิโกะตระกูล
ป๊อกกี้ออกสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อปี 2515 กูลิโกะยังเป็น
แบรนด์ที่สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของ Japan culture ได้
ชัดเจน ที่ผ่านมากูลิโกะขับเคลื่อนการตลาดแบบเรียบ
ง่าย ใช้สื่อโฆษณาน้อยครั้ง แต่แบรนด์สามารถเป็นที่
จดจำของผู้บริโภคทั้งยังครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้เด็ก
วัยรุ่น จนถึงวัยทำงาน ที่น่าสนใจคือการกระจายสินค้า
ของกูลิโกะที่สามารถเข้าถึงช่องทางได้ทุกระดับ
ปี 2559 กูลิโกะ สร้างกระแสให้เป็นที่ตื่นเต้นของผู้บริโภค
เป็นอย่างมาก ด้วยการประกาศขยายฐานผลิตภัณฑ์
ครั้งแรกในรอบ 40 ปี ผ่านการเข้าสู่ตลาดไอศกรีมระดับ
แมส จะเห็นว่ายังเป็นการโฟกัสที่ฐานลูกค้าเดิม ด้วยการ
นำไอศกรีมกูลิโกะ 4 แบรนด์เข้ามาแข่งขันในตลาด
ประกอบด้วย
1.พาลิตเต้ ไอศกรีมรสนมและช็อกโกแลตกับรสนมและ
ไวท์ช็อกโกแลต วางแนวคิดไว้ที่“การให้รางวัลกับตัวเอง
จากความวุ่นวาย อ่อนล้า ด้วยไอศกรีมทรงเกลียว
2.ไจแอนท์ ไอศกรีมรสช็อกโกแลตและถั่วลิสงกับรส
ช็อกโกแลตและคุกกี้ แนวคิดผลิตภัณฑ์ คือ “การเติมพลัง
ให้กับตัวเองด้วยไอศกรีมเนื้อแน่น ท็อปปิ้งชั้นดีเพื่อความ
เพลิดเพลินและปลดปล่อยความเหนื่อยล้าอย่างเต็มที่
3.พาแนปป์ ไอศกรีมรสสตรอเบอร์รี่กับรสองุ่น ที่มีแนวคิด
ผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความอร่อยลงตัวที่ไม่เหมือนใคร
ของไอศกรีม 3 ชั้น คือ ไวท์ช็อกโกแลตกรุบกรอบ,
ซอสผลไม้ และไอศกรีมวานิลลา สไตล์ซันเด
4.เซเว่นทีน ไอซ์ ไอศกรีมรสมิ้นท์และช็อกโกแลตกับวานิลลา
และคุกกี้ โดยแนวคิดคือไอศกรีมแท่งรูปแบบใหม่ฉีกเทรนด์
ที่ทำให้สามารถอยากออกไปสังสรรค์อย่างมีสไตล์โดยไม่
ต้องกังวัลเรื่องการละลาย
ไอกรีมทั้ง 4 แบรนด์ยังมีขายที่บรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีรูปแบบสวย
งาม แปลกตา สีสันทันสมัย เป็นการกระตุ้นการหยิบจับ
และทดลองซื้อของกลุ่มวัยรุ่นได้อย่างดี
นอกจากนี้ตัวแปรหลักของไอศกรีมตระกูลิโกะ ไอซ์ที่จะมี
ผลต่อการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดคือช่องทางจัดจำหน่าย
เพราะต้องไม่ลืมว่าอิทธิพลของ Japan connection ใน
ตลาดค้าปลีกเมืองไทยกำลังแผ่กว้างขึ้นทุกขณะ ไม่ว่าจะ
เป็น เซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งในไทยรับสิทธิ์มาจากญี่ปุ่น,
แฟมิลี่มาร์ท,ลอว์สัน 108 ฯลฯ ที่ต่างเร่งขยายสาขาอย่าง
ต่อเนื่อง
การเปลี่ยนแปลงในตลาดไอศกรีมแมสอาจจะไม่ปรากฏ
ขึ้นในระยะสั้น แต่จากกระแสการตอบรับที่ดีโดยเฉพาะ
ในโลกออนไลน์ของไอศกรีมตระกูลิโกะ น่าจะเป็นการ
ส่งสัญญาณถึงเนสท์เล่ ในการรับมือกับศึกครั้งนี้
สนับสนุนโดย
นิตยสารแมกเก็ตติ้ง (Magketing)
สามารถดาวน์โหลดนิตยสารฉบับเต็ม...ฟรี...ได้ที่
http://www.ebooks.in.th/ebook/38548/magketing_vol13/