การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ มีความสัมพันธ์กับทางกฎหมายด้วยนะคะ เพราะการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้มีการกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ และไม่มีใครที่จะมาเป็นพยานให้เราได้เลย ทำให้ขั้นตอนการยืนยันตัวตนที่ถูกวางเอาไว้ในระบบต่างๆ ที่พวกเราใช้กันอยู่ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ เลย
ตัวอย่างการยืนยันตัวตนที่มีผลทางกฎหมาย อย่างเช่น การใช้ Internet Banking เพื่อทำธุรกรรมการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ต้องมีการกรอกเลขบัตรประชาชน ทั้งนี้ ก็เพื่อตรวจสอบได้ในกรณีที่บัญชีดังกล่าวถูกใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมเพื่อดำเนินคดี หรือแม้แต่เว็บไซต์กระทู้สนทนาอย่าง Pantip.com ที่ต้องยืนยันตัวตนด้วยรหัสบัตรประชาชนเช่นกัน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยและป้องกันการตั้งกระทู้ที่ผิดกฎหมายนั่นเอง เช่น กระทู้หมิ่นเบื้องสูง
นอกจากนี้ การยืนยันตัวตนเพื่อการเข้าระบบในบัญชีต่างๆ ยังช่วยป้องกันการถูกขโมยตัวตนซึ่งมีผลทางกฎหมายเช่นกันค่ะ อย่าง Facebook หากถูกขโมยข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อเจ้าของบัญชีซึ่งมีผลทางกฎหมายได้ ทำให้การวางระบบเพื่อยืนยันตัวตนจึงมีความสำคัญ ที่ต้องเชื่อถือได้ มีความมั่นคงปลอดภัยสูงนั่นเอง
ทีนี้ทุกคนคงพอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมคะว่าการยืนยันตัวตนนั้นมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายอย่างไร ฉะนั้น ข้อมูลที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของเราก็ควรเก็บรักษาเอาไว้ให้ดี เช่น Password, เลขประจำตัวประชาชน และอื่นๆ หากเพื่อนๆ ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ลองลองติดตามกันได้จากบทความนี้กันต่อได้เลย https://www.etda.or.th/content/asean-e-authentication-workshop-news.html
ที่มา : ETDA Thailand