หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: Yuri Milner จับมือ Stephen Hawking เปิดตัวโครงการ “Breakthrough Starshot”  (อ่าน 57 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 19 เม.ย. 16, 10:30 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

นิวยอร์ก--18 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

โครงการวิจัยและวิศวกรรมมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์จะพิสูจน์แนวคิดที่ว่า ลำแสงสามารถขับเคลื่อนยาน "nanocraft" น้ำหนักไม่กี่กรัมได้ด้วยความเร็ว 20% ของความเร็วแสง ภารกิจท่องอวกาศนี้จึงอาจไปถึงระบบดาว Alpha Centauri ภายในเวลาเพียง 20 ปีนับจากการปล่อยยานขึ้นสู่ท้องฟ้า

Mark Zuckerberg ร่วมเป็นสมาชิกบอร์ดบริหารโครงการนี้

Yuri Milner เจ้าของบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ผู้ให้การสนับสนุนแวดวงวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด ปรากฎตัวร่วมกับ Stephen Hawking นักจักรวาลวิทยาชื่อดัง ณ One World Observatory เพื่อประกาศเปิดตัวโครงการใหม่ของ Breakthrough Initiative ที่มุ่งเน้นด้านการสำรวจอวกาศและการค้นหาสิ่งมีชีวิตในจักรวาล

"Breakthrough Starshot" คือโครงการวิจัยและวิศวกรรมมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิสูจน์แนวคิดเกี่ยวกับยาน nanocraft ที่ขับเคลื่อนด้วยแสง ซึ่งอาจทำความเร็วได้ถึง 20% ของความเร็วแสง รวมทั้งสามารถบันทึกภาพของดาวเคราะห์ที่ยังไม่เคยค้นพบและข้อมูลวิทยาศาสตร์อื่นๆในระบบดาวที่อยู่ใกล้เราที่สุดอย่าง Alpha Centauri ในระยะเวลาเพียง 20 ปีนับจากการปล่อยยานขึ้นสู่ท้องฟ้า

ผู้นำของโครงการนี้คือ Pete Worden อดีตผู้อำนวยการ NASA AMES Research Center และมีคณะกรรมการที่ปรึกษาอันประกอบด้วยเหล่านักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นแนวหน้าของโลก ขณะเดียวกัน Stephen Hawking, Yuri Milner และ Mark Zuckerberg จะเป็นสมาชิกของบอร์ดบริหารโครงการด้วย

Ann Druyan, Freeman Dyson, Mae Jemison, Avi Loeb และ Pete Worden ร่วมปรากฎตัวในการประกาศเปิดตัวโครงการนี้ด้วย

วันที่ 12 เมษายน 2559 เป็นวาระครบรอบ 55 ปีของการเดินทางสู่ห้วงอวกาศครั้งแรกของ Yuri Gagarin และเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษหลัง "ภาพถ่ายดวงจันทร์" ภาพแรกเกิดขึ้น ทางโครงการ Breakthrough Starshot จึงเลือกวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวกระโดดไปให้ถึงดวงดาว

Breakthrough Starshot

ระบบดาว Alpha Centauri อยู่ห่างออกไป 25 ล้านล้านไมล์ (4.37 ปีแสง) ยานอวกาศที่เดินทางเร็วที่สุดในปัจจุบันยังต้องใช้เวลาถึง 30,000 ปีเพื่อเดินทางไปถึง ทางโครงการ Breakthrough Starshot จึงตั้งเป้าสร้างยาน nanocraft น้ำหนักหลักกรัมที่ขับเคลื่อนด้วยแสงและทำความเร็วได้มากกว่ายานทั่วไปนับพันเท่า ถือเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับซิลิคอนวัลเลย์ในด้านการท่องอวกาศ โดยอาศัยความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่มีมาตั้งช่วงต้นศตวรรษที่ 21

1. Nanocraft

Nanocraft คือยานอวกาศหุ่นยนต์น้ำหนักหลักกรัมซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

- StarChip: กฎของมัวร์ระบุว่าองค์ประกอบไมโครอิเล็กทรอนิกสามารถย่อขนาดลงได้อย่างมหาศาล ก่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการสร้างวงจรเวเฟอร์น้ำหนักหลักกรัม ซึ่งสามารถบรรจุกล้อง ตัวผลักดันโฟตอน เพาเวอร์ซัพพลาย ระบบนำทาง และอุปกรณ์การสื่อสาร ประกอบกันเป็นยานสำรวจอวกาศที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

- Lightsail: ความก้าวหน้าของนาโนเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดอภิวัสดุ (metamaterial) ที่ทั้งบางและมีน้ำหนักเบากว่าเดิม ซึ่งจะเปิดทางไปสู่การสร้าง lightsail ที่มีความยาวหลักเมตร ความหนาเพียงไม่กี่ร้อยอะตอม และหนักเพียงหลักกรัม

2. Light Beamer

- พลังงานจากเลเซอร์ที่สูงขึ้นและต้นทุนเลเซอร์ที่ลดลง มีความสอดคล้องกับกฎของมัวร์และนำไปสู่ความก้าวหน้าสำคัญของเทคโนโลยีการยิงแสง ขณะเดียวกัน phased array ของเลเซอร์ (หรือ light beamer) ยังสามารถเพิ่มขนาดได้ถึงระดับ 100 กิกะวัตต์ด้วย

Breakthrough Starshot มีจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนต่อหน่วยในแวดวงดาราศาสตร์ โดย StarChip สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากโดยใช้ต้นทุนเท่ากับ iPhone เพียงหนึ่งเครื่อง และสามารถส่งขึ้นไปทำภารกิจได้คราวละมากๆ เพื่อให้มีความครอบคลุมและเพียงพอต่อการใช้งาน ส่วน light beamer ก็สามารถนำมาประกอบกันและปรับตามการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น เมื่อการประกอบยานและเทคโนโลยีถึงจุดโตเต็มที่แล้ว คาดว่าต้นทุนการปล่อยยานแต่ละครั้งจะลดลงเหลือเพียงไม่กี่ร้อยดอลลาร์

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.breakthroughinitiatives.org

ดาวน์โหลดภาพ วิดีโอ และสื่อต่างๆจากงานแถลงข่าวได้ที่ www.image.net/breakthroughstarshot

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม