ความเร่งรีบและเวลาที่มีจำกัดในแต่ละวัน ทำให้เทรนด์การ
ตลาดยุคนี้มุ่งไปที่การพัฒนาช่องทางขายให้หลากหลายเพื่อ
สนองตอบต่อความสะดวก สบาย รวดเร็วให้ได้มากที่สุด ซึ่ง
หนึ่งในช่องทางที่นำมาตอบโจทย์ดังกล่าว คือ ไดร์ฟทรู เพราะ
สามารถจะรับบริการได้ในใช้เวลาที่สั้น อีกทั้งยังสะดวกเพราะ
ไม่ต้องหาที่จอดรถหรือรอคิวซื้อและรับประทานได้ทันที
ขณะเดียวไดร์ฟทรูยังหมายถึงโอกาสในการขายที่เพิ่มขึ้น
เพราะในแต่ละวันผู้บริโภคจะใช้เวลาในรถค่อนข้างมาก อีก
ทั้งปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือระยะ
เวลาขายที่นานกว่าร้านในศูนย์การค้าเพราะส่วนใหญ่เปิด
ขาย 24 ชั่วโมง ประกอบกับจำนวนคู่แข่งที่ยังมีจำนวนน้อย
กว่าร้านในศูนย์การค้า
“ไดรฟ์ทรู” จึงเป็นช่องทางที่ร้านอาหารบริการด่วนแบรนด์
ใหญ่หันมาให้น้ำหนักมากขึ้นแม้จะใช้งบลงทุนต่อสาขาสูง
กว่าในศูนย์การค้าก็ตาม
เริ่มจากแมคโดนัลด์ที่วางแผนเปิดสาขาไดรฟ์ทรู แบบ
สแตนด์อะโลนนอกศูนย์การค้ามากขึ้นตลอดช่วงที่ผ่านมา
ทั้งยังกำหนดแผนระยะยาว5 ปีต่อจากนี้ (2558-2563) ด้วย
เป้าหมายจะขยายสาขารวมอีก 200 สาขา โดยกว่าครึ่งหรือ
100 สาขาจะเป็นไดรฟ์ทรู และจะเน้นทำเลย่านชุมชน แหล่ง
ท่องเที่ยว เพราะค่าเช่าที่ต่ำ
ส่วนปี 2559 มีแผนขยายเพิ่มจำนวนสาขาอีก 30 แห่งภายใต้
งบลงทุน 1,000 ล้านบาท เป็นสาขาแบบไดร์ฟทรู 50% เนื่อง
จากที่ผ่านมายอดขายจากสาขาแบบไดร์ฟทรูเติบโตได้ถึง
20-30% ซึ่งในช่วงต้นปีเปิดบริการแล้ว 4 สาขา
สำหรับสัดส่วนรายได้ของแมคโดนัลด์เมื่อแยกตามช่องทาง
การจัดจำหน่ายพบว่า ร้านนั่งรับประทาน หรือไดอิน 80%,
ดีลิเวอรี 12% และไดรฟ์ทรู 8%ขณะที่ช่องทางออนไลน์มี
สัดส่วนคิดเป็น 10% ของช่องทางดิลิเวอรี่ แต่ช่องทาง
ไดร์ฟทรู ดีลิเวอรี่ ออนไลน์ รวมถึงแมคอีซี่ออเดอร์ มีแนว
โน้มเติบโตเพิ่มขึ้นตามไลฟ์สไตล์ของคนเมืองรุ่นใหม่
ส่วนแผนการขยายสาขาของเคเอฟซีในปี 2559 วางเป้าหมาย
ไว้ที่ 50 สาขา แบ่งเป็นสาขาไดรฟ์ทรู สแตนด์อะโลน 10 สาขา
ใช้งบประมาณ 30-40 ล้านบาทต่อสาขา เน้นทำเลรอบ
กรุงเทพฯขณะเดียวกันจะขยายพื้นที่การขายให้เข้าถึง
กลุ่มเป้าหมายที่ลึกลงไปในระดับอำเภอรอง จากที่เน้นอำเภอ
เมืองในแต่ละจังหวัดให้มากขึ้น
ด้วยการเข้าสู่พื้นที่ของไฮเปอร์มาร์เก็ตและศูนย์การค้าทุก
จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนตามเป้าหมายที่จะ
ผลักดันให้เคเอฟซีเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดของชุมชนและ
สามารถสร้างงานให้กับคนในชุมชนไปพร้อมๆกัน
ส่วนสาขาในกรุงเทพฯเคเอฟซีได้นำร่องปฏิวัติรูปแบบสาขา
ให้สามารถรองรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ไปเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อปีที่ผ่านมา เริ่มจากสาขาฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต ด้วยการ
ตกแต่งในสไตล์ที่หรูหรา ดีไซน์ทันสมัย เลือกใช้กระจกเป็น
องค์ประกอบในการตกแต่งเพื่อให้สะดุดตา มองเห็นความ
เคลื่อนไหวภายใน มีการจัดสรรพื้นที่ให้กว้างขวาง ด้วยการ
แบ่งเป็น 3 ชั้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการนำ Global Design ที่
เคเอฟซีใช้เป็นมาตรฐานทั่วโลกมาประยุกต์ใช้ในไทย
และด้วยเป้าหมายหลักในการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคน
ยุคใหม่ โดยเฉพาะ Gen-y ที่ใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับ
สมาร์ทโฟน จึงจัดบริการฟรี Wi-fi พร้อมปลั๊กเสียบชาร์จ
แบตเตอรี่รวมถึงการสนองตอบการใช้ชีวิตแบบคนเมือง
ซึ่งนิยมพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงด้วยบริการรีฟิลเครื่องดื่ม
อย่างน้ำอัดลมไม่จำกัด ที่จุดบริการเครื่องดื่มตลอดเวลาที่
นั่งรับประทานอาหารภายในร้าน
นอกจากนี้ได้จัดสัดส่วนพื้นที่เป็นห้องสำหรับรองรับกลุ่มที่
ต้องการพบปะหรือประชุมเป็นกลุ่มๆ โดยรองรับได้ในพื้นที่
ได้ประมาณ 20-30 คน สามารถใช้บริการแสดงข้อมูลหรือ
พรีเซ็นเตชั่นส์ขึ้นจอทีวีที่ติดตั้งไว้ โดยเชื่อมต่อสัญญาณ
จากโน้ตบุ้ค ใช้บริการได้ทั้งวันธรรมดาและวันหยุดสุด
สัปดาห์และเปิดให้บริการห้องน้ำ รวมไปถึงบริการอื่นๆ
และสั่งได้ด่วนกว่าเดิม
ขณะที่เบอร์เกอร์คิงต้องถือว่ารุกเข้ามาในช่องทางไดร์ฟ ทรู
ช้ากว่าคู่แข่งขันโดยเปิดสาขาแรกในช่วงปลายปี 2557 ใน
สถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ รามอินทรา กม.6.5 ซึ่งการเลือก
พื้นที่ในสถานีบริการน้ำมันเพราะเห็นว่ามีความพร้อมด้าน
สิ่งอำนวยความสะดวกและลงทุนไม่สูงประมาณ 20-25
ล้านบาท/สาขา
ส่วนปี 2558 เบอร์เกอร์คิงเพิ่มไดรฟ์ทรู อีก 5 สาขา รวมถึงมี
ขยายสาขาในรูปแบบร้านทั่วไป 12 สาขา ส่งผลให้มีสาขารวม
ทั้งสิ้น 55 สาขา และจากนี้ได้เตรียมเจรจากับสถานีบริการ
น้ำมันอื่นๆเพิ่มเติม
สำหรับปี 2559 วางแผนขยายสาขาต่อเนื่องอีก 15 สาขา โดย
ยังคงเน้นสาขาไดรฟ์ทรู 8 สาขา ขณะที่ภาพรวมการขับ
เคลื่อนการตลาดจะใช้งบลงทุนรวม 425 ล้านบาท แยกเป็น
การตลาด 50 ล้านบาท และลงทุนสาขา 375 ล้านบาท จาก
ปัจจุบันที่มีสาขารวม 60 สาขา ขณะที่สาขาไดร์ฟทรูสิ้นปีนี้
จะมีประมาณ 18 สาขา
ปีที่ผ่านมาการเติบโตด้านรายได้จากไดรฟ์ทรูของ
เบอร์เกอร์คิงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีโดยเพิ่มขึ้นราว 30% จากเดิม
10% เพราะการเน้นทำเลที่เหมาะสม โดยไม่ได้ผูกติดเป็น
พันธมิตรกับรายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ โดยขณะนี้มีสาขา
ไดรฟ์ทรูสามารถเปิดให้ในสถานีบริการน้ำมัน เช่น เอสโซ่,
เชลล์, ปตท., บางจาก, คาลเท็กซ์ เป็นต้น
จะเห็นว่าอัตราเร่งในการขยายสาขาไดร์ฟทรูของ
เบอร์เกอร์คิงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามแผนในการ
ลดจุดอ่อนของแบรนด์ที่มีสาขาในศูนย์การค้าค่อนข้างน้อย
และแนวโน้มยังต้องการจะขยายสาขาไดร์ฟทรูให้มีสัดส่วน
50% ของสาขาทั้งหมด เนื่องจากเป็นการรับประทานอาหาร
ที่ช่วยประหยัดเวลาได้มาก สะดวกสบาย
ประกอบกับเบเกอร์คิงมีนโยบายขยายฐานตลาดไปยังกลุ่ม
เป้าหมายที่เป็นคนไทยมากขึ้น โดยต้องการเพิ่มสัดส่วนเป็น
60% ภายในปี 2560 จากปัจจุบันอยู่ที่ 55% และต่างชาติ
45% จากฐานลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการร้านเบอร์เกอร์คิง
ทุกสาขารวมกันประมาณ 4.5 หมื่นคนต่อเดือน โดยเฉลี่ย
มีการใช้จ่ายประมาณ 250 บาทต่อคนต่อครั้ง
สนับสนุนโดย
นิตยสารแมกเก็ตติ้ง (Magketing)
สามารถดาวน์โหลดนิตยสารฉบับเต็ม...ฟรี...ได้ที่
http://www.ebooks.in.th/ebook/40468/magketing_vol15/