รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicles : EV) จากที่เคยเป็น
เพียงเทรนด์ใหม่ในอนาคตได้กำลังกลายเป็นยานยนต์ที่เข้า
มาตอบโจทย์ความต้องการด้านพลังงานทางเลือกจากผู้ใช้
ได้ทั่วโลก เพียงแต่การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีครั้งนี้อาจ
ต้องการเวลาในการเปลี่ยนผ่านเพื่อสร้างความมั่นใจในการ
ใช้รถยนต์ประจำวันของผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปให้มีความคุ้นเคย
มากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีทุนหนาและมีสายป่าน
ที่ยาวย่อมได้เปรียบ
การปรับเปลี่ยนแนวทางสู่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในครั้งนี้
ตอบโจทย์กระแสความนิยมจากทั่วโลกที่มองหารถยนต์
เปี่ยมประสิทธิภาพ และใช้พลังงานที่สะอาดยิ่งขึ้น
เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติ
เห็นชอบมาตรการสนับสนุนให้มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภาย
ในประเทศใน 3 กลุ่ม คือ รถยนต์นั่งไฟฟ้า , รถยนต์นั่งไฟฟ้า
ขนาดเล็ก และรถโดยสารไฟฟ้า ตามนโยบาย
“ประเทศไทย 4.0” ในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไทย
เพื่อรองรับแนวโน้มอุตสาหกรรมในอนาคต
บริษัทที่สนใจลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ต้องยื่นแผนการ
ดำเนินงานในลักษณะแผนรวม หรือแพ็กเกจ ประกอบด้วย
แผนการลงทุนประกอบรถยนต์ไฟฟ้า และผลิตชิ้นส่วน
สำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า อาทิ แบตเตอรี่ มอเตอร์ ระบบ
ควบคุมการจ่ายไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อพิจารณาได้รับ
สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอื่นๆ
บริษัทที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว จะสามารถนำเข้า
รถยนต์สำเร็จรูป (CBU) โดยได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้น
อากรขาเข้าในรุ่นรถยนต์ที่จะผลิต เพื่อนำมาทดลองตลาด
ในปริมาณที่กำหนด รวมทั้งจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการ
ลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำคัญซึ่งยังไม่มี
การผลิตในประเทศในช่วงเริ่มต้นของการประกอบรถยนต์
ไฟฟ้าอีกด้วย
ขณะที่กระทรวงพลังงานได้กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อ
สนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย (EV ปี 2559-2579)
โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรก (ปี 2559-2560) เป็นการ
เตรียมความพร้อมของการนำร่องในการทดลองใช้รถยนต์ EV
และการพัฒนาสถานีชาร์จไฟหรืออัดประจุไฟฟ้า (Charging
Stations) รองรับ ซึ่งประกอบด้วยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.) ที่จะทำโครงการนำร่องเพื่อทดสอบการใช้งาน
รถโดยสารสาธารณะไฟฟ้า 20 คันเพื่อนำไปสู่การจัดหา
รถโดยสารสาธารณะ 200 คัน การนำร่อง EV ทดลองใช้และ
สถานีประจุไฟภายในองค์กร ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บมจ.ปตท.
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีแผนจะเพิ่มสถานีอัดประจุ
ไฟฟ้า (Charging station) จาก 4 แห่งในปัจจุบัน เป็น 6 แห่ง
ภายในสิ้นปีนี้ และเพิ่มอีก 14 แห่งเป็น 20 แห่งภายในปี 2560
ใช้เงินลงทุนประมาณ 60-100 ล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดโครงการทั้ง 3 ระยะ ตั้งเป้ามีรถยนต์ไฟฟ้า
(EV Passenger) จำนวน 1.2 ล้านคัน และมีสถานีชาร์จไฟ
หรืออัดประจุไฟฟ้า (Charging Stations) จำนวน 690 สถานี
พร้อมกับมีการพัฒนาระบบชาร์จไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart
Charging) ที่จะสอดรับกับนโยบายเมืองอัจฉริยะ หรือ
Smart City
ความท้าทายต่อจากนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะสามารถนำเสนอ
เทคโนโลยีจำนวนมากเข้าภายในรถยนต์ได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่า
ใครจะสามารถมอบเทคโนโลยีที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ และ
ทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจได้ดีที่สุด
สนับสนุนโดย
นิตยสารแมกเก็ตติ้ง (Magketing)
สามารถดาวน์โหลดนิตยสารฉบับเต็ม...ฟรี...ได้ที่
http://www.ebooks.in.th/ebook/41656/magketing_vol16/