New Group : TIRESBID-ONLINE
ชวนเข้าร่วมกลุ่ม แชร์ประสบการณ์ & สิทธิพิเศษก่อนใคร
https://www.
facebook.com/groups/tiresbidonline/
.
New Channel : Tiresbid on YouTube
ชวนมากด Like & Subscribe กันเยอะๆนะครับ
คลิกเลย : http://bit.ly/TiresbidYoutube
#Tiresbid #TiresSpeicalist #จอร์จไทร์บิด
สวัสดีครับ เพื่อนๆชาว TIRESBID ทุกท่าน วันนี้ จอร์จ จะพาเพื่อนๆมารู้จักกับ สิ่งสำคัญที่สุดของรถยนต์แต่หลายๆคนมักจะมองข้ามไป ไม่ได้ใส่ใจมันมากมายแต่หารู้ไม่มันคือสิ่งที่สามาถกำหนดชีวิตของเราได้เลย...นั่นคือ ระบบเบรกนั่นเองครับ บทความก่อนหน้านี้ จอร์จ เคยกล่าวไปถึงระบบเบรก ดรัมเบรก Vs ดิสก์เบรก ชี้ชัดดีหรือเสียอย่างไร สามารถตามไปหาอ่านกันได้เลยบนเว็บไซต์ครับ
สำหรับระบบเบรก จอร์จ เชื่อว่ามีเพื่อนๆหลายคนเมื่อเปลี่ยนใหม่แล้วค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีครับ แต่มันจะมี จุดเล็กๆที่ ไม่ว่ารถแรง รถเบาเปลี่ยนไปแล้ว จะสามารถเห็นผลได้อย่างทันตา นั่นคือ จานเบรก นั่นเองครับ จอร์จ เข้าใจนะครับเพื่อนๆไม่ใช่ทุกท่านชื่นชอบความเร็วและมองว่าอาจจะไม่จำเป็นต้อง
แต่งรถเพิ่มเติมจึงไม่ได้อัพเกรดระบบเบรกมากนัก แต่เชื่อ จอร์จ เถอะครับ หลังจากที่ได้อัพเกรดระบบ จานเบรคดูแล้ว มันสามารถรู้สึกได้ความปลอดภัย ความมั่นใจเพิ่มขึ้นมากเลยจริงๆ วันนี้จึงอยากจะมาพาเพื่อนๆไปรู้จักจานเบรคกันครับ
ในปัจจุบันนี้เพื่อนๆคงเคยเห็นเหล่ารถแต่ง รถซิ่ง ที่มีการอัพเกรดระบบเบรกแล้ว หรือแม้กระทั่ง Supercars เห็นกันได้บ่อยขึ้น หรือ ใน
งาน Motorshow หรือ MotorExpo สามารถหาชมได้ไม่ยากนักครับ จอร์จ อยากให้ลองสังเกตที่ตัวของจานเบรกเองนั้น มักจะมีรูๆ หรือเป็นร่องๆ เคยสงสัยเหมือนกันไหมครับ รูนั้นมีไว้ทำอะไร เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยครับ โดยที่จานเบรคนั้นจะแบบออกได้ 4 แบบหลักๆคือ แบบเรียบ, แบบเจาะรู, แบบเซาะร่อง และแบบรวมมิตร เจาะรูสลับเซาะร่อง จอร์จค่อยๆพาเพื่อนๆทำความรู้จักแต่ละแบบแบบเข้าใจง่ายๆเลยครับ
แบบเรียบ [Smooth Brake Rotor]
โดยที่แบบเรียบนี้เราสามารถพบเห็นได้อย่างแพร่หลายไม่ว่าจะในรถบ้านทั่วไป แม้กระทั่ง รถ Supercars บางคันก็มีผลิตมาจากโรงงานแบบเดิมๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าจานแบบเรียบนั้น เป็นจานที่สามารถทนต่อแรงเค้นได้ดีที่สุดและทนที่สุด ทำให้เจ้าจานเบรคแบบเรียบๆง่ายๆนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมอยู่พอตัวเลยครับ แต่จะว่าไปเจ้าจานเบรคแบบเรียบนั้นก็มีข้อเสียอยู่บ้างเหมือนกัน นั่นคือ การระบายความร้อนที่ดูเหมือนว่าจะทำได้ไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจครับ เมื่อเทียบกับ แบบเจาะรูหรือเซาะร่องแล้ว จึงทำให้หากรถคันไหนใช้งานจานเบรคแบบเรียบ จำเป็นที่จะต้องใช้งาน ผ้าเบรคและน้ำมันเบรคที่คุณภาพค่อนข้างสูงเพื่อให้ทนความร้อนได้นั่นเองครับ หลังจากทราบแล้ว เพื่อนท่านใดใช้อยู่ควรต้องไปตรวจเช็คสภาพกันหน่อยนะครับ
นอกจากนี้จานเบรคแบบเรียบนั้น ยังมีปัญหากวนใจเรื่องฝุ่นอีกด้วย หากเพื่อนๆท่านใดใช้งานจานแบบนี้อยู่จะสังเกตได้ว่า หากใช้งานไปนานๆแล้วจะต้องออกแรงกดมากขึ้น เพราะว่าจะมีฝุ่นเข้าไปเกาะที่ผ้าเบรคนั่นเองครับ และข้อเสียที่เด่นชัดอีกหนึ่งอย่างคือเจ้าจานเเบบเรียบนั้นไม่ค่อยถูกกับน้ำเสียเท่าไหร่เพราะว่าหากมีการลุยน้ำแล้วล่ะก็ จะเกิดแผนฟิล์มบางๆที่จานเบรคทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปเยอะครับ
แบบเจาะรู [Drill Brake Rotor]
จานแบบนี้มันมีประวัติความเป็นมาในสนามแข่งครับ เริ่มจากรถแข่งในสมัยก่อนนั้น วัสดุที่จะนำมาทำจานเบรกก็หาได้ไม่ง่ายเหมือนสมัยนี้รวมไปถึงเรื่องคุณภาพอีกด้วย ทำให้เวลาเบรกนั้นจะเกิดฝุ่นเบรกค่อนข้างมาก รวมไปถึงก๊าซบางชนิดที่ไปเกาะติดอยู่กับตัวจาน นักวิจัยจึงคิดค้นวิธีการแก้ไข เพื่อไล่ก๊าซที่ว่านี้และฝุ่นออกไปจากจานเบรค จึงทำให้เกิดแบบเจาะรูเกิดขึ้น เนื่องจากใช้งบประมาณไม่มาก และทำได้ง่ายนั่นเองครับ ต่อมาในภายหลังพบว่าการเจาะรูนั้นสามารถทำให้ระบายความร้อนได้ดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตาอีกด้วย ก็แน่อยู่แล้วละ เลยอีกหนึ่งจานเบรคยอดผลิตจานเจาะเพิ่มขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจานแบบนี้จะเห็นได้บ่อยมากๆในรถที่อัพเกรดระบบเบรคแล้ว เพราะว่าเจ้าจานเจาะนั้นอย่างที่บอกไปว่าสามารถระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็วมาก ช่วยให้ลดโอกาสการเกิดอาการเบรกไม่อยู่ หรือที่สากลเรียกกันว่า Brake Fade นั่นเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อจานเบรคร้อนจัด จนไม่สามารถสร้างแรงกด และแรงเฉื่อยได้อีกต่อไปนั่นเองครับ ในข้อดีก็มีข้อเสียครับ
จานแบบเจาะรูก็มีจุดอ่อนในเรื่องของการแตกร้าว หรือที่เรียกกันว่า Thermal Cracking เกิดขึ้นเมื่อจานเบรคนั้นมีอุณหภูมิที่สูง แต่กลับกันในรูนั้นอุณภูมิที่ต่ำกว่าทำให้จานเบรก ทำให้เกิดอาการผิดรูปจนกระทั่งร้าวในที่สุด ยังไงซะเรื่องแต่นี้ก็ไม่ใช่เรื่องหนักหนาอะไร เพราะว่าค่ายรถหลายๆค่ายเลือกที่จะใช้วัสดุที่ดีขึ้น ทำให้จุดด้อยนี้เป็นเรื่องสามารถรับได้ครับ
แบบเซาะร่อง [Slotted Brake Rotor]
สำหรับจานแบบเซาะร่องนั้น ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการรถซิ่ง เนื่องจากเป็นจานที่ ลบข้อด้อยของจานแบบเจาะรูที่มีโอกาสเกิด Thermal Cracking ลงไปได้อย่างหมดจด ด้วยการเซาะร่องตามเนื้อจานเบรค ส่งผลให้เรื่องการระบายความร้อนเป็นไปได้อย่างรวดเร็วเหมือนแบบเจาะ รวมไปถึงเรื่องฝุ่นอีกด้วยเรียกได้ว่าสามารถกลบจุดด้อยของจานเบรคแบบเดิมๆออกไปจนหมด ดีจริงอะไรจริง นอกจากนี้ยังได้ของดีแถมมาอีกเล็กๆน้อยๆคือ ประสิทธิภาพการเบรคนั้นดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อครับ เพราะว่า การที่เซาะร่องนั้นทำให้ เพิ่มแรงเสียดทานระหว่างผ้าเบรกกับจานทำให้ประสิทธิภาพการเบรกเพิ่มมากขึ้นนั่นเองครับ แต่แน่นอนครับต้องแลกมากับผ้าเบรกที่หมดเร็วกว่าปกตินั่นเองครับ
จานแบบเจาะรู+เซาะร่อง [Drill and Slotted Brake Rotor]
เพื่อนๆคงคิดว่าแบบนี้มันต้องรวมเอาข้อดีของแบบเจาะรู กับแบบเซาะร่องเอาไว้อย่างแน่นนอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบายความร้อนอย่างดี หรือ ประสิทธิภาพการเบรก ใช่ไหมล่ะครับ คำตอบคือ..ผิดถนัดครับ ถึงแม้เจ้าจานเบรกลูกครึ่งนี้ จะได้รับการยอมรับว่า สามารถขจัดฝุ่นได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว ก็ยังมองไม่เห็นข้อดีอื่นๆอีกเลย เนื่องจาก จานแบบนี้จะเกิด Thermal Cracking ได้ง่ายมากๆ ทำให้จานลูกผสมนี้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แต่สิ่งหนึ่ง จอร์จ ปฏิเสธไม่ได้จริงๆว่าจานตัวนี้มันหล่อเหลาเอาการเหมือนกันนะครับ เมื่อนำมาแต่งรถยนต์แบบสปอร์ตแล้วด้วยสุดท้ายนี้ จอร์จ หวังว่าเพื่อนๆจะได้รับข้อมูลเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ ช่วยในการตัดสินใจการอัพเกรดและเลือกซื้อ
เพื่อนๆท่านใดอยากสอบถามและใช้บริการ เปลี่ยนยางถึงบ้าน หรือ บริการอื่นๆเพิ่มเติม ติดต่อมาได้เลย Line@ : @tiresbid จอร์จและทีมงาน
พร้อมให้คำแนะนำครับ หากไม่สะดวกพิมพ์อยากคุยกันมากกว่า โทรมาเลย : 080-589-4711 (คุณคิม) คุยง่าย แนะนำดี ไม่ผิดหวัง หากต้องการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ ฟรี ! (โปรโมชัน : เมื่อเปลี่ยนยางครบ 4 เส้น) สนใจแจ้งเข้ามาได้เลยครับ ขอบคุณครับ