เทรนด์การตลาด Influencer Marketing สุดฮอต! จับมือคนดังสร้างแคมเปญออนไลน์ โปรโมทแบรนด์ผ่านYouTube ปี 2562 โตพรวด 50% “พ็อพส์ (ประเทศไทย)” ชูจุดแกร่งด้านศักยภาพและความเชี่ยวชาญแบบมืออาชีพ สื่อสารแบบลงลึก–ชัดเจน–ตรงกลุ่มเป้าหมายกว่า 200 แคมเปญ ดันยอดทะยานเพิ่ม 3 เท่า ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ
นายบานิ แทน ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค (Regional director) บริษัท พ็อพส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นผู้นำด้านดิจิตอล เอนเตอร์เทนเมนท์ ผู้ให้ความบันเทิงผ่าน YouTube และ Social Media Platform อื่น ๆ ซึ่งในกระแสโลกยุคใหม่ เรื่องของ Influencer Marketing หรือการทำตลาดโดยใช้บุคคล เน็ตไอดอล องค์กรดังๆ แฟนเพจที่มีชื่อเสียงและมีความน่าเชื่อถือทางสังคมออนไลน์และมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น
Instagram,
Facebook และ YouTube โดยในปี 2562 เจ้าของแบรนด์และนักการตลาดได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ผู้ทำเนื้อหา (Content) เผยแพร่ผ่าน YouTube (YouTuber / Creator) เพิ่มขึ้นถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2561 Influencer Marketing ไม่เพียงสร้างการรับรู้และเข้าถึงผู้บริโภค แต่ Influencer ยังสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและโน้มน้าวสู่การตัดสินใจซื้อได้ในท้ายที่สุด ซึ่งกระแสความความนิยมดังกล่าวส่งผลให้พ็อพส์ (ประเทศไทย) เติบโตเพิ่มขึ้น 3 เท่า จากการทำแคมเปญกว่า 200 แคมเปญกับลูกค้าในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีอัตราการเติบโตสูง (Fast Moving Consumer Goods : FMCG) กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มสายการบิน และอื่นๆ
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ YouTube ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก Facebook ได้ลดการเข้าถึง (Reach) ในการมองเห็นโฆษณาและเพจต่างๆ ประกอบกับพฤติกรรมการติดตามและการเข้าชม YouTube Channel ของกลุ่มผู้บริโภคจะมีความสม่ำเสมอมากกว่า ส่งผลให้ Influencer หลายรายที่มาจาก Social Media Platform อื่นๆ เริ่มเข้ามาใช้ YouTube โดยเฉพาะกลุ่มดาราและนักแสดงที่เคยใช้ Instagram เป็นช่องทางหลักของผู้ติดตาม ส่งผลให้อัตราค่าจ้าง YouTuber มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ YouTuber ที่ได้รับความนิยมในอันดับต้นๆ (Top–tier YouTuber) มีเรตราคาสูงสุดในตลาด ณ ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านบาทต่อหนึ่ง YouTube Video ในขณะที่ YouTuber ที่ได้รับความนิยมรองลงมา (Mid–tier YouTuber) มีการแข่งขันและตัดราคากันอย่างรุนแรงซึ่งจากข้อมูลของ YouTube ณ วันที่ 6 มีนาคม 2562 พบว่า มี 6 ช่อง (Channel) ที่มีผู้ติดตาม (Subscriber) เกิน 10 ล้านราย มี 200 ช่องที่มีผู้ติดตามเกิน 1 ล้านราย ซึ่งจากสถิติพบว่าในทุกๆ 3 วันจะมี 1 ช่องที่มีผู้เข้ามากดติดตามทะลุ 1 ล้านราย มี 2,500 ช่องที่มีผู้ติดตามเกิน 1 แสนราย และมี 3 ช่องที่มีผู้เข้ามากดติดตามทะลุ 1 แสนรายในทุกๆ วัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การทำ Influencer Marketing มีเรตราคาสูงสุดขึ้นเรื่อยๆ แต่ว่ายูทูปเบอร์ในกลุ่มที่ได้นิยมอันดับต้นๆ (Top–tier YouTuber) ยังคงได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความคุ้มค่า เมื่อพิจารณาจากค่าโฆษณาต่อการชมวิดีโอ (Cost per View) มีเรตที่ต่ำกว่าการทำ Video Production เอง และการซื้อโฆษณาเอง
นายบานิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันเจ้าของแบรนด์และนักการตลาดจะให้ความสำคัญกับยอดขายจากผู้เข้าชม (Conversion) มากกว่าการเข้าถึง (Reach) และยอดการเข้าชม (Views) ของกลุ่มเป้าหมาย โดยปัจจัยสำคัญในการทำ Influencer Marketing เพื่อให้เกิดยอดขายคือ การเลือก Influencer ที่มีสามารถสร้าง Content และสอดแทรก การโฆษณาแบรนด์ได้อย่างเหมาะสม (Branded Content) รวมถึงการเลือก Influencer ที่มีภาพลักษณ์ตรงกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสาร และมีผู้ติดตามที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ รวมไปถึงการพิจารณาระดับความนิยมของ Influencer นั้นๆ นอกจากนี้ ทีม
งานที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ รู้จักและเข้าใจลักษณะผู้ชมของแต่ละ Influencer ได้อย่างลึกซึ้งเพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริงจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำ Influencer Marketing ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างเช่น การทำการตลาดในกลุ่มเด็กจะมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากในบาง Social Media Platform จะมีข้อจำกัดด้านอายุในการสมัคร (Age restriction) ทำให้เด็กๆ เลือกที่จะนำเอาบัญชี (account) ของผู้ปกครองมาใช้แทน จึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวางกลุ่มเป้าหมายหากวิเคราะห์เพียงลักษณะด้านประชากรศาสตร์ (Demographic) ที่ติดตามเพจนั้นๆ เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ทีมงานที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ รู้จักและเข้าใจลักษณะผู้ชมของในแต่ละ influencer เป็นอย่างดี จึงมีผลอย่างมากต่อการเสนอ influencer ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการในแต่ละแบรนด์
“แม้ว่า Influencer Marketing จะมีการแข่งขันสูง แต่ พ็อพส์ (ประเทศไทย) ได้มีการลงทุนด้านทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าเราสามารถส่งมอบผลงานที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า ส่วนในด้าน Content เรา ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของแบรนด์ (Brand S
afety) ในการทำโฆษณาออนไลน์ที่โฆษณานั้นไม่ควรไปอยู่ในเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือใกล้กับโฆษณาที่ไม่เหมาะสม รวมถึงความปลอดภัยด้านเนื้อหาสำหรับกลุ่มผู้ชมที่เป็นเด็ก (Kid Safety) ในช่องทางและรายการเด็กของพ็อพส์ (ประเทศไทย) ส่งผลให้สัดส่วนยอดขายประมาณ 65% ในปีนี้เป็นลูกค้าที่ประทับใจและกลับมาใช้บริการกับเราอย่างต่อเนื่อง” นายบานิ กล่าวในตอนท้าย