หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: Dow เปิดตัว "Rethink+" โครงการจัดการขยะผ่านระบบดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก  (อ่าน 14 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 17 ต.ค. 20, 09:45 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

Dow เปิดตัว "Rethink+" โครงการจัดการขยะผ่านระบบดิจิทัลครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก มุ่งรีไซเคิลขยะพลาสติกโดยร่วมมือกับพันธมิตรในอินเดีย

โครงการรับคืนพลาสติกจากผู้บริโภคช่วยให้ผู้บริโภคในอินเดียสามารถรีไซเคิลพลาสติกได้อย่างสะดวกสบาย และได้รับผลตอบแทนที่ดึงดูดใจ

Dow (NYSE: DOW) เปิดตัวโครงการจัดการขยะผ่านระบบดิจิทัลโครงการแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในชื่อ Rethink+ ประเดิมที่อินเดีย โดยโครงการรับคืนพลาสติกจากผู้บริโภคโครงการนี้ มีเป้าหมายในการป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติกหลังการบริโภคไปจบที่หลุมฝังกลบขยะ ด้วยการเชื่อมโยงผู้สร้างขยะ ผู้เก็บรวบรวมขยะ ผู้บำบัดขยะ และผู้รีไซเคิลขยะผ่านระบบดิจิทัล โครงการริเริ่มใหม่นี้เกิดจากการร่วมมือกับ Recykal บริษัทเทคโนโลยีผู้ให้บริการโซลูชันคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรมการจัดการขยะและรีไซเคิล และ Keshav Sita Memorial Foundation Trust องค์กรเอ็นจีโอด้านการจัดการขยะ

ผู้เข้าร่วมโครงการ Rethink+ สามารถใช้แอปมือถือบันทึกรายการขยะที่จะนำไปรีไซเคิล นัดเวลาให้มารับขยะหรือนำขยะไปส่งที่ศูนย์เก็บรวบรวมขยะ รับคะแนนรีวอร์ดเพื่อนำไปแลก Voucher ออนไลน์เมื่อทำภารกิจสำเร็จในแต่ละครั้ง โดยขยะพลาสติกที่เก็บรวบรวมผ่านโครงการ Rethink+ จะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหลายแบบ เช่น Upcycling และ Pyrolysis เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนใหม่ของ Dow ในการ "หยุดสร้างขยะ" (Stop the Waste) ด้วยการเก็บรวบรวม นำกลับมาใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิลขยะพลาสติก 1 ล้านเมตริกตัน ผ่านการดำเนินงานโดยตรงของบริษัทและผ่านการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร

เมื่อช่วงต้นปี Dow ได้เปิดตัวโครงการ Rethink+ ในเมืองปูเน่ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ซึ่งโครงการนำร่องดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยสามารถรวบรวมขยะพลาสติกได้ 810 เมตริกตัน ใน 5 เดือน โครงการ Rethink+ จะรวบรวมขยะพลาสติกในเมืองปูเน่ต่อไป พร้อมกับขยายโครงการไปยังเมืองอื่น ๆ ทั่วอินเดีย

"ผลลัพธ์ของโครงการนำร่องดีเยี่ยมมาก แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เรายินดีที่ได้ขยายโครงการ Rethink+ ไปยังเมืองอื่น ๆ ในอินเดีย และสนับสนุนให้ประชาชนหันมารีไซเคิลขยะกันมากขึ้นผ่านการรณรงค์ ให้ความรู้ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับ" Bambang Candra รองประธานฝ่ายพาณิชย์ประจำเอเชียแปซิฟิกของ Dow Packaging & Specialty Plastics กล่าว "ด้วยเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะในท้องถิ่นของ Recykal รวมถึงการสนับสนุนจาก Keshav Sita Memorial Foundation Trust เราจะดึงผู้บริโภคและพันธมิตรเข้ามาร่วมโครงการให้มากขึ้น เพื่อผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนในอินเดียและเอเชียแปซิฟิก"

โครงการรีไซเคิลครบวงจร ตั้งแต่รวบรวมขยะจนถึงแก้ปัญหาขยะ

ทางโครงการได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเก็บรวบรวม คัดแยก และรีไซเคิลขยะพลาสติกหลังการบริโภค เพื่อส่งขยะไปให้กับโรงงานรีไซเคิล ผู้รับเหมาก่อสร้างถนน และโรงงานผลิตเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก (Pyrolysis) ที่ได้รับอนุญาต จากนั้นขยะพลาสติกจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น นำไปใช้สร้างถนน เป็นต้น

โครงการ Rethink+ จับมือกับพันธมิตรในระบบนิเวศ เช่น โรงงานรีไซเคิล โรงงานผลิตเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก และผู้รับเหมาก่อสร้างถนน เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจ้าของแบรนด์ต่าง ๆ สามารถปฏิบัติตามนโยบายความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) ของรัฐบาลอินเดียได้อย่างโปร่งใส ด้วยการเปิดให้ตรวจสอบย้อนกลับที่มาของขยะพลาสติกทั้งหมด

"เรายินดีที่ได้จับมือกับ Dow ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลาสติก ในการนำเสนอแพลตฟอร์มเพื่อให้บุคคลทั่วไป เจ้าของแบรนด์ ผู้ผลิต ผู้เก็บรวบรวมขยะ และบริษัทรีไซเคิล ได้ร่วมกันจัดการขยะพลาสติกโดยใช้จุดแข็งของตนเองตลอดกระบวนการรีไซเคิล" Abhay Deshpande ผู้ก่อตั้งบริษัท Recykal กล่าว "เราต่างมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการปกป้องสิ่งแวดล้อม เราหวังว่าโครงการ Rethink+ จะช่วยเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าขยะผ่านโซลูชันข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนวิธีการรีไซเคิลขยะพลาสติกในอินเดีย"

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านการรณรงค์และให้ความรู้

Keshav Sita Memorial Foundation Trust เป็นองค์กรเอ็นจีโอในเมืองปูเน่ที่อุทิศตนสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่เป็นอันตรายของขยะพลาสติก นอกจากนั้นยังตอกย้ำความสำคัญของการคัดแยกขยะ รวมถึงให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป และเก็บรวบรวมขยะพลาสติกจากที่อยู่อาศัย โรงเรียน และร้านค้าปลีก ภายใต้โครงการ Rethink+ ทั้งนี้ การเก็บรวบรวมขยะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 โดยมีมาตรการป้องกันและรักษาสุขอนามัยอย่างเข้มงวด

"Keshav Sita Foundation คุ้นเคยเป็นอย่างดีกับการเก็บรวบรวมขยะพลาสติก เราไปตามบ้านเรือนเพื่อเก็บรวบรวมขยะและให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ พร้อมกับอธิบายว่า "การคัดแยกและพิชิตขยะ" คือวิธีการที่ยั่งยืนในการปกป้องสิ่งแวดล้อม" Dr. Medha Tadpatrikar ผู้ก่อตั้ง Keshav Sita Memorial Foundation Trust กล่าว " รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทำงานเคียงข้างกับ Dow และ Recykal เพื่อเดินหน้าแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรีไซเคิล ด้วยการร่วมมือกับชาวเมืองปูเน่จากทุกภาคส่วนของสังคม"

แอปพลิเคชัน UZED [1] ช่วยผู้บริโภคจัดการขยะพลาสติกที่รีไซเคิลได้

ผู้บริโภคสามารถใช้แอปพลิเคชัน UZED ของ Recykal ในการจัดการขยะพลาสติกที่รีไซเคิลได้อย่างมีความรับผิดชอบ ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

1. ดาวน์โหลดแอปผ่าน App Store หรือ Google Play
2. ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ "Rethink+ Plastic Takeback Program"
3. บันทึกรายการขยะที่จะนำไปรีไซเคิลบนแอป / เก็บรวบรวมและคัดแยกขยะพลาสติกที่บ้าน
4. นัดเวลาให้มารับขยะที่บ้าน / นำขยะไปส่งที่ศูนย์เก็บรวบรวมขยะใกล้บ้าน

หลังจากนั้นผู้ใช้งานจะได้รับคะแนนผ่านบัญชีของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถนำไปแลกรับของตอบแทนที่น่าดึงดูดใจ เช่น บัตรของขวัญ เป็นต้น

[1] สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน UZED ผ่าน Google Play หรือ Apple Store เพื่อใช้งานในอินเดียเท่านั้น ผู้ที่อยู่นอกอินเดียไม่สามารถใช้งานได้


โลโก้ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200526/2813064-1LOGO



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม